Page 87 - kpiebook67026
P. 87

86     ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์



                   • ด้านการค�านึงถึงทุกคนในสังคมหรือความครอบคลุมทางสังคม (social inclusion)
            และการคุ้มครองกลุ่มคนบางประเภท

                   • ด้านความเท่าเทียมทางเพศ การได้รับการปฏิบัติหรือได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียม

                   • ด้านปัจเจกบุคคล เอกชน ชีวิตครอบครัวและข้อมูลส่วนบุคคล

                   • ด้านการบริหารจัดการ การมีส่วนร่วม การบริหารงานที่ดี การเข้าถึงความยุติธรรม

            และสื่อมวลชน

                   • ด้านการสาธารณสุขและความปลอดภัย

                   • ด้านอาชญากรรม การก่อการร้ายและความปลอดภัย

                   • ด้านการเข้าถึงและผลกระทบต่อระบบการคุ้มครองทางสังคม สุขภาพ

            และระบบการศึกษา

                   • ด้านวัฒนธรรม

                   • ด้านผลกระทบต่อประเทศอื่นนอกกลุ่ม EU


                   2.5.2 ความหมายและลักษณะของการวิเคราะห์ผลกระทบ

                   ทางสังคม

                   เนื่องด้วยการวิเคราะหผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายของหลายประเทศ
            ไม่ได้ถูกแยกออกมาจากการประเมินผลกระทบด้านอื่นอย่างชัดเจน การท�าความเข้าใจ

            ความหมายของการวิเคราะหผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมายในบริบทนี้จึงควร
            เริ่มจากการย้อนกลับไปพิจารณาความหมายของ RIA เป็นอันดับแรก โดยในระดับสากล

            นั้นมีการเรียกเทคนิคการวิเคราะหผลกระทบของกฎหมายหรือนโยบายในชื่อที่แตกต่าง
            กันไป เช่น การวิเคราะหผลกระทบจากกฎหมายและนโยบาย (regulatory impact

            assessment) การวิเคราะหผลกระทบ (impact assessment) และการวิเคราะห
                                                                        18
            ผลกระทบด้านความยั่งยืน (sustainability impact assessment) เป็นต้น  ซึ่งอาจมี
            ข้อพิจารณาว่าการเรียกชื่อที่แตกต่างกันนี้มีนัยความแตกต่างใดและท�าให้ความหมาย

            18    Julia Hertin and others, ‘Rationalising the Policy Mess? Ex Ante Policy Assessment
            and the Utilisation of Knowledge in the Policy Process’ (2009) 41: 5 Environment and
            Planning A 1185, 11851186-. อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า,
            เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 34
   82   83   84   85   86   87   88   89   90   91   92