Page 92 - kpiebook67026
P. 92

91




                     2.6.2 ความส�าคัญในฐานะเครื่องมือที่จะช่วยให้บรรลุ
                     การพัฒนาที่ยั่งยืน

                      นอกเหนือจากการวิเคราะหผลกระทบทางสังคมจะมีประโยชนในการช่วย

               ให้ผู้มีอ�านาจตัดสินใจก�าหนดนโยบายหรือกฎหมายมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
               ดังที่กล่าวไปแล้ว การท�า RIA ยังมีความเกี่ยวพันกับการด�าเนินการที่จะน�าไปสู่

               การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) โดยการพัฒนาที่ยั่งยืนนั้น
               เป็นเหมือนปรัชญาของการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมยุคสมัยปัจจุบันอีกด้วย
                                                                                  31
               ดังนั้น ในแง่แนวคิดที่พิจารณาความเชื่อมโยงระหว่าง RIA กับการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว
               ควรน�าเสนอในส่วนนี้ด้วยว่าเหตุปัจจัยใดที่ท�าให้ทั้งสองเรื่องมีความเกี่ยวเนื่องกัน


                      เมื่อกล่าวถึงแนวคิดเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว มักมีการน�าเสนอนิยามของ
               การพัฒนาที่ยั่งยืนโดยอ้างถึงค�านิยามในเอกสารรายงานของคณะกรรมาธิการว่าด้วย

               สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (World Commission on Environment and Development
               (WCED)) ซึ่งคณะกรรมาธิการชุดนี้ได้เผยแพร่รายงานที่ชื่อว่า “Our Common Future”

               หรือรายงานของบรันทแลนด (The Brundtland Commission’s report) ซึ่งจัดท�า
               เพื่อรายงานต่อเลขาธิการขององคการสหประชาชาติ (Secretary General of the

               United Nations) ในปี ค.ศ. 1987 โดยรายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึงนิยามของการพัฒนา
               ที่ยั่งยืนเอาไว้ว่า “...การพัฒนาที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาที่ตอบสนองความต้องการ

               ของคนรุ่นปัจจุบันในขณะเดียวกันไม่ท�าให้ความต้องการของคนรุ่นต่อไปที่จะใช้
               พัฒนาตนเสื่อมถอย...” 32



               31    European Environment and Sustainable Development Advisory Councils

               (EEAC), ‘Impact Assessment of European Commission Policies: Achievements and
               Prospects’ (Statement of the EEAC Working Group on Governance 2006) 9. อ้างถึง
               ใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์
               ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 37
               32    United Nations, ‘Report of the World Commission on Environment and

               Development: Our Common Future’ Annex to document A/42427/ - Development
               and International Cooperation: Environment, para 27. อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรม
               เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคม
               ในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 38
   87   88   89   90   91   92   93   94   95   96   97