Page 93 - kpiebook67026
P. 93
92 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ในปี ค.ศ. 1992 ได้มีการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา
ณ นคร ริโอ เดอ จาเนโร ของบราซิล โดยผลสรุปของการประชุมครั้งนี้ปรากฏ
ในตราสารระหว่างประเทศหลายฉบับ ซึ่งรวมไปถึงปฏิญญาริโอว่าด้วยสิ่งแวดล้อม
และการพัฒนา (Rio Declaration on Environment and Development) ซึ่งเป็นตราสาร
ระหว่างประเทศที่มีความส�าคัญอย่างยิ่งต่อการขยายความแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
33
ในระดับสากล โดยจะพบหลักการที่แสดงให้เห็นร่องรอยของความสัมพันธระหว่าง
การท�า RIA กับการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น ในหลักการที่ 4 (Principle 4) ของปฏิญญาริโอ
ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาประกาศแนวคิดว่าเพื่อที่จะให้บรรลุการพัฒนาที่ยั่งยืน
จะต้องให้มีการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเป็นส่วนส�าคัญของกระบวนการด�าเนินการเพื่อพัฒนา
(development process) โดยไม่อาจแยกขาดจากกันได้ซึ่งกระบวนการพัฒนาที่เรียกร้อง
ให้มีการน�าแนวคิดการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเข้าไปพิจารณานั้นอาจเป็นการด�าเนินการ
ในระดับกิจกรรม (activity) โครงการ (project) นโยบาย (policy) และรวมไปถึง
กระบวนการออกกฎหมายด้วย ซึ่งสะท้อนให้เห็นแนวคิดที่เรียกร้องให้มีการพิจารณาเรื่อง
สิ่งแวดล้อม (ซึ่งมีประเด็นทางสังคมเกี่ยวพันอยู่ด้วย) อยู่ในกระบวนการตัดสินใจของรัฐ
นอกจากนี้ หากพิจารณาปฏิญญาโคเปนเฮเกนว่าด้วยการพัฒนาทางสังคม
(Copenhagen Declaration on Social Development 1995) ซึ่งเป็นตราสาร
34
ที่เกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดผู้น�าของโลกด้านการพัฒนาทางสังคมซึ่งจัดโดย
องคการสหประชาชาติ (United Nations) (World Summit for Social Development
33 ดูรายละเอียดบทบาทของปฏิญญาริโอในฐานะตราสารที่มีบทบาทต่อการขยายแนวคิด
การพัฒนาที่ยั่งยืนจาก Jorge E Viñuales (ed), The Rio Declaration on Environment
and Development: A Commentary (Cambridge University Press 2015) 14.
อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการ
วิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”, 2564, น. 38
34 ปฏิญญาโคเปนเฮเกนว่าด้วยการพัฒนาทางสังคม (Copenhagen Declaration on Social
Development 1995) Copenhagen Declaration on Social Development - A/CONF.1669/
Chapter I, Annex I - UN Documents), อ้างถึงใน ส�านักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบัน
พระปกเกล้า, เรื่อง “แนวทางและวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบทางสังคมในการตรากฎหมาย”,
2564, น. 39