Page 99 - kpiebook67026
P. 99
98 ผลการใช้กฎหมายรับรองเพศสภาพ : กรณีประเทศอาร์เจนตินา มอลตา และไอซ์แลนด์
ส�าหรับโครงสร้างของกฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศอารเจนตินา
ประกอบด้วยบทบัญญัติจ�านวนทั้งสิ้น 15 มาตรา ต่อมาในปี ค.ศ. 2021 รัฐบาล
ของประเทศอารเจนตินาได้ออกกฎหมายของฝ่ายบริหาร (a presidential decree)
เรียกว่ารัฐก�าหนดฉบับที่ 476/2021 (Decreto 476/2021; Decree 476/2021)
ซึ่งมีผลบังคับในปี ค.ศ.2021 โดยรัฐก�าหนดฉบับนี้ได้ให้การรับรองอัตลักษณทางเพศสภาพ
ของกลุ่มนอนไบนารี่ และอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายระบุเพศ “X” เพื่อยืนยันอัตลักษณ
42
ทางเพศสภาพของตนในเอกสารของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการระบุอัตลักษณของบุคคลได้
3.1.2 ประเทศมอลตา
การตรากฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศมอลตา เริ่มเกิดขึ้นอย่างเป็น
ทางการครั้งแรก ในปี ค.ศ. 2015 โดยประเทศมอลตาได้ตรากฎหมายว่าด้วยอัตลักษณ
ทางเพศ การแสดงออกทางเพศและคุณลักษณะทางเพศ (The Gender Identity,
Gender Expression and Sex Characteristics Act 2015) ซึ่งก�าหนดรายละเอียด
เกี่ยวกับการรับรองสิทธิในอัตลักษณทางเพศ รวมถึงก�าหนดกระบวนการขั้นตอน
เกี่ยวกับการรับรองอัตลักษณทางเพศของกลุ่มบุคคลข้ามเพศและบุคคลอินเตอรเซ็ก
ไว้อย่างชัดเจน
ส�าหรับโครงสร้างของกฎหมายรับรองเพศสภาพในประเทศมอลตาประกอบด้วย
บทบัญญัติจ�านวนทั้งสิ้น 17 มาตรา โดยกฎหมายฉบับนี้ได้รับการปรับปรุงแก้ไขให้ทันสมัย
อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการแก้ไขครั้งล่าสุดในปี ค.ศ. 2018
3.1.3 ประเทศไอซ์แลนด์
หากพิจารณาจากรายงานสถานการณช่องว่างระหว่างเพศในระดับโลก (Global
Gender Gap Report) ซึ่งจัดท�าขึ้นโดย World Economic Forum เพื่อติดตาม
ความคืบหน้าเพื่อไปสู่โลกที่มีความเท่าเทียมทางเพศ และเปรียบเทียบช่องว่างระหว่างเพศ
ในมิติต่าง ๆ ซึ่งจัดท�าขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 โดยในการจัดอันดับดัชนีช่องว่างระหว่างเพศ
ปี ค.ศ. 2021 (Gender Gap Index) นั้นพบว่า ประเทศไอซแลนดถือว่าเป็นประเทศ
42 Argentina 2022 Human Rights Report, p.20 Access July 15, 2023, https://www.
state.gov/wp-content/uploads/2023/02/415610_ARGENTINA-2022-HUMAN-RIGHTS-
REPORT.pdf.