Page 100 - kpiebook67026
P. 100
99
ที่ครองอันดับหนึ่งประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศสูงที่สุดในโลกได้เป็นปีที่ 12
43
ติดต่อกัน และในรายงานการจัดอันดับดัชนีช่องว่างระหว่างเพศในปี ค.ศ. 2022 ก็พบว่า
ประเทศไอซแลนดยังคงเป็นประเทศที่ครองอันดับหนึ่งประเทศที่มีความเท่าเทียม
44
ทางเพศสูงที่สุดในโลกและเป็นประเทศเดียวที่ปิดช่องว่างทางเพศได้มากกว่า 90%
ด้วยเหตุนี้ การประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการก�าหนดเจตจ�านงในเรื่องเพศสภาพ
(Act on Gender Autonomy) ในประเทศไอซแลนดจึงเป็นเครื่องมือส�าคัญประการหนึ่ง
ในการสร้างความเท่าเทียมระหว่างเพศที่มีความน่าสนใจและทันสมัยมากที่สุดในเวลานี้
ของโลก
การรับรองเพศของประเทศไอซแลนด (Iceland) ปัจจุบันเป็นไปตามกฎหมาย
ว่าด้วยการก�าหนดเจตจ�านงในเรื่องเพศสภาพ (Act on Gender Autonomy)
ซึ่งประกาศใช้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน ค.ศ. 2019 และต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมจนถึง
45
ปี ค.ศ. 2020 ประกอบด้วยบทบัญญัติจ�านวนทั้งสิ้น 18 มาตรา โดยจ�าแนกแบ่งออก
ได้เป็น 4 หมวด ได้แก่
หมวดที่ 1 ว่าด้วยเรื่องวัตถุประสงคและนิยามศัพท (Chapter I Objective
and Definitions)
หมวดที่ 2 ว่าด้วยเรื่องการรับรองสิทธิในการนิยามเพศสภาพของบุคคล
(Chapter II Right to Define One’s Gender)
หมวดที่ 3 ว่าด้วยเรื่องความสมบูรณเป็นหนึ่งเดียวทางร่างกายและการเปลี่ยนแปลง
คุณลักษณะทางเพศ (Physical Integrity and Changes to Sex Characteristics)
หมวดที่ 4 บทเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous provisions)
43 SDG MOVE โครงการวิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, “อีก 135 ปี โลกถึงจะมี
‘ความเท่าเทียมทางเพศ’ – สรุปรายงาน GLOBAL GENDER GAP REPORT 2021,” สืบค้น
เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566, https://www.sdgmove.com/202129/06//sdg-updates-
global-gender-gap-report-2021/
44 ThaiPublica “WEF เปิดรายงาน Global Gender Gap ปี 2022 ช่องว่างทางเพศแคบลง
แต่อีก 132 ปีถึงจะมีความเท่าเทียม,” สืบค้นเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2566, https://thaipublica.
org/202207//wef-global-gender-gap-2022/
45 Act on Gender Autonomy No 2019/ 80 as amended by Act No. 2019/159,
No. 2020/152 and No. 2020/154