Page 104 - kpiebook67026
P. 104

103



                      เนื่องจากกฎหมายรับรองเพศสภาพของประเทศมอลตา เป็นกฎหมายที่มุ่งหมาย
               ให้การรับรองเพศสภาพแก่บุคคลบนพื้นฐานของการก�าหนดเจตจ�านงของตนเอง

               เป็นส�าคัญ ดังนั้น กลุ่มบุคคลที่จะอยู่ในบังคับของกฎหมายฉบับนี้จึงหมายถึง บุคคล
               ที่มีอัตลักษณทางเพศสภาพ การแสดงออกทางเพศสภาพ และคุณลักษณะทางเพศ

               ที่ไม่สอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ซึ่งไม่อาจได้รับการรับรองเพศสภาพตามเจตจ�านง
               ของตนเองได้ ได้แก่ บุคคลข้ามเพศ (Transgender) บุคคลอินเตอรเซ็ก (Intersex)

               รวมถึงบุคคลที่นิยามตนไม่อยู่ในระบบสองเพศหรือกลุ่มนอนไบนารี่ (Non – Binary)
               นั่นเอง


                      (3) ประเทศไอซ์แลนด์

                      การตรากฎหมายว่าด้วยการก�าหนดเจตจ�านงในเรื่องเพศสภาพ (Act on

               Gender Autonomy) ค.ศ. 2019 เกิดขึ้นโดยมีวัตถุประสงคส�าคัญเพื่อให้การรับรอง
               สิทธิของบุคคลในการนิยามเพศสภาพของตนเองและสร้างหลักประกันในการรับรอง

               อัตลักษณทางเพศของบุคคลตลอดจน ครอบคลุมถึงการคุ้มครองสิทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
                                                    49
               กับความสมบูรณในร่างกายของบุคคลอีกด้วย

                      โดยกฎหมายฉบับนี้ยังได้ก�าหนดนิยามศัพทที่จ�าเป็นต่อการใช้และการตีความ

               เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงคของกฎหมายที่น่าสนใจไว้หลายค�า ได้แก่ การนิยามค�าว่า
               เพศสภาพ (Gender) คุณลักษณะทางเพศ (Sex characteristics) การแสดงออก
               ทางเพศ (Gender expression) อัตลักษณทางเพศ (Gender identity) ความสมบูรณ

               เป็นหนึ่งเดียวทางร่างกาย (Physical integrity) และคุณลักษณะทางเพศที่มีความผิดปกติ

                                         50
               (Atypical sex characteristics)  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
                      เพศสภาพ (Gender/Sexuality) หมายถึง ค�าเรียกโดยรวม ซึ่งประกอบด้วย

               คุณลักษณะทางเพศ เพศสภาพ อัตลักษณทางเพศ และการแสดงออกทางเพศ





               49    Article 1 of Act on Gender Autonomy No 80 /2019 as amended by Act
               No. 159/2019, No. 152/2020 and No. 154/2020
               50    Article 2 of Act on Gender Autonomy No 2019/ 80 as amended by Act
               No. 2019/159, No. 2020/152 and No. 2020/154
   99   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109