Page 310 - kpiebook67020
P. 310
309
1. ความถดถอยของความชอบธรรมของกระบวนการยุติธรรม และ
สถาบันที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม (เช่น ต�ารวจ ศาล)
2. เมื่อไม่เป็นธรรม เที่ยงธรรม ความขัดแย้งก็ด�าเนินต่อไป และน่าจะ
เข้มข้นด้วย ironic แทนที่กระบวนการยุติธรรมจะช่วยยุติด้วย
ความเป็นธรรม กลายเป็นกลับยิ่งเพิ่มเชื้อไฟความขัดแย้งที่เป็นอยู่
เพิ่มมากขึ้น และจะไม่เหลือสถาบันใดเลยที่จะเป็นตัวกลางที่จะ
ยุติความขัดแย้ง ประคับประคองสังคมไปได้ เพราะคนจะรู้สึกว่า
สถาบันต่าง ๆ ก็เลือกข้างหมดแล้ว และคนจ�านวนนึงก็รู้สึกว่า
ไม่เลือกข้างตนเอง เพราะฉะนั้นก็ไม่มีความชอบธรรม (ชญานิษฐ์
พูลยรัตน์, การสื่อสารส่วนบุคคล, 28 มกราคม 2565)
ส่วนนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์นั้น ได้ให้ความเห็นว่า วิกฤตทางสังคมการเมืองนั้น
เกิดขึ้นมานานแล้ว และอาจจะเลวร้ายลงอีกก็ได้ จากประสบการณ์ส่วนตัว แต่เดิม
ครอบครัวก็ไม่ได้สนใจเรื่องการเมืองมาก แต่พอถูกด�าเนินคดีเอง ทางครอบครัวก็รับรู้
ว่ามันเป็นเรื่องผิดปกติในกระบวนการยุติธรรม และในปัจจุบันน่าจะมีผู้ถูกด�าเนินคดี
มากกว่า 2,000 คนแล้ว ยิ่งขยายวงการรับรู้ความผิดปกตินี้ และยิ่งท�าให้สังคม
การเมืองที่แตกแยกอยู่แล้วยิ่งแตกแยกมากขึ้นอีก แต่สิ่งที่น่ากังวลมากกว่า คือ
ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ซึ่งเสื่อมถอยลงมากในช่วงเวลา
ที่ผ่านมา โดยเฉพาะต�ารวจได้สร้างบาดแผลมาก ทั้งการสลายการชุมนุมด้วย
ความรุนแรง ความรู้สึกเกลียดชังต�ารวจมีสูงขึ้นเรื่อย ๆ และเมื่อได้เห็นกระบวนการ
ต่าง ๆ ที่ต�ารวจได้ท�า ยิ่งตอกย�้าความรู้ว่ากระบวนการยุติธรรมไม่ได้ให้ความเป็นธรรม
กลับกลายเป็นเครื่องมือของรัฐในการปิดกั้นประชาชน เห็นภาพชัดเจนทุกวัน
ประชาชนไม่ได้เชื่อถือกระบวนการยุติธรรม ไม่ว่าจะตัดสินอย่างไร ถึงแม้ในท้ายที่สุด