Page 307 - kpiebook67020
P. 307
306 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ค�าวินิจฉัยดังกล่าว อาจจะกลายเป็น “เส้นตัด” ส�าคัญที่อาจจะท�าให้เกิด
ความขัดแย้งและความแตกแยกในสังคมมากขึ้นกว่าเดิม จากที่มีความแตกแยกและ
แบ่งขั้วที่สูงอยู่แล้ว อาจจะเป็นปัจจัยที่ท�าให้สถานการณ์เลวร้ายลงกว่าเดิมได้ ถึงแม้ว่า
ในช่วงปีที่ผ่านมาจะยังไม่มีการด�าเนินการใด ๆ เพิ่มเติม แต่ค�าวินิจฉัยนี้ก็ได้กลายเป็น
สัญญาณให้การเคลื่อนไหวที่ชูประเด็นการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ต้องยุติลง
4.2.3 ประเด็นที่อาจจะพลิกวิกฤตการณ์และแปรเปลี่ยนไปสู่
ทางเลือกที่สร้างสรรค์ร่วมกัน
แรงกดดันจากนานาชาติให้ต้องปฏิบัติตามพันธกรณีระหว่างประเทศด้าน
สิทธิมนุษยชน อาจจะกลายเป็นประเด็นที่อาจพลิกวิกฤตการณ์และแปรเปลี่ยนไปสู่
ทางเลือกที่สร้างสรรค์ร่วมกันได้ เช่นในการชุมนุมวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 ส�านักงาน
ข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ (Office of the United Nations
High Commissioner for Human Rights: OHCHR) ได้แสดงความกังวลเกี่ยวกับ
สถานการณ์การชุมนุมในประเทศไทย พร้อมเรียกร้องให้หยุดใช้ความรุนแรงกับผู้ชุมนุม
โดยทวีตข้อความใน Twitter ว่า “#ประเทศไทย เราวิตกกังวลอย่างยิ่งจากความตึงเครียด
ที่เพิ่มขึ้นในเหตุประท้วงช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา กระสุนยาง แก๊สน�้าตา และรถฉีดน�้า
อาจท�าให้บาดเจ็บร้ายแรงได้ และควรใช้อย่างยับยั้งชั่งใจสูงสุด เราขอเรียกร้องให้รัฐบาล
(ไทย) ใช้วิธีการพูดคุยอย่างมีความหมายกับผู้ประท้วง” (The Standard, 2564ก)
ในการชุมนุมวันที่ 30 สิงหาคม 2564 The Asian Forum for Human Rights
and Development (FORUM-ASIA) และ ภาคีนักกฎหมายสิทธิมนุษยชน (Human
Rights Lawyers Alliance: HRLA) ได้ออกแถลงการณ์ร่วมเรียกร้องให้รัฐบาลไทยเคารพ
พันธกรณีภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศและยุติการใช้ก�าลังที่ไม่ได้สัดส่วนกับผู้ชุมนุม
และต้องยุติการด�าเนินคดีต่อผู้ชุมนุมทั้งหมดอย่างไม่มีเงื่อนไข และปล่อยตัวผู้ชุมนุม