Page 304 - kpiebook67020
P. 304
303
และโยนภาระให้กับผู้ต้องหาที่ต้องไปต่อสู้ในชั้นศาลเอง (ยิ่งชีพ อัชฌานนท์, การสื่อสาร
ส่วนบุคคล, 13 มกราคม 2565)
4.2.2 ความอยุติธรรมทางการเมืองจากการด�าเนินคดีกับผู้ชุมนุม
ม็อบการเมืองในฐานะวิกฤตทางสังคม
1) สาเหตุของวิกฤตการณ์
สาเหตุส�าคัญที่ท�าให้การด�าเนินคดีกับผู้ชุมนุมทางการเมืองนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563
เป็น “วิกฤตทางสังคม” นั้น คือการที่ผู้มีอ�านาจใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม
เป็นเครื่องมือหยุดยั้งความเคลื่อนไหวของผู้ชุมนุม ก�าจัดผู้เห็นต่าง สร้างบรรยากาศ
แห่งความกลัว และท�าให้กระบวนการปกติ กลายเป็นเรื่องไม่ปกติ การด�าเนินคดีกับ
ผู้ชุมนุม จ�านวนมากจ�านวนหลักพันคน หลักพันคดีในเวลา 2 ปีถือเป็นเรื่องไม่ปกติ
อย่างยิ่ง ประกอบกับความไม่ปกติของกระบวนการยุติธรรมที่ไม่ให้ประกันตัวยิ่งท�าให้
เกิดค�าถามต่อกระบวนการยุติธรรมมากขึ้น
ตลอดระยะเวลาที่ถูกจับกุมคุมขังระหว่างด�าเนินคดี ได้มีความพยายาม
ที่จะยื่นขอประกันตัวมาโดยตลอด แต่ก็ถูกปฏิเสธหลายครั้ง ทั้ง ๆ ที่การประกันตัว
ถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน แต่ในการปฏิเสธยื่นขอประกันตัวแต่ละครั้งนั้น ศาลยังคง
ยืนยันว่า “ไม่มีเหตุให้เปลี่ยนแปลงค�าสั่ง” ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29 วรรค 2
บัญญัติว่า “ในคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจ�าเลยไม่มีความผิด
และก่อนมีค�าพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระท�าความผิด จะปฏิบัติต่อ
บุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระท�าความผิดมิได้” จึงท�าให้แกนน�าที่ถูกด�าเนินคดีรู้สึกว่า
ไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม จึงท�าให้นายพริษฐ์ หรือรุ้ง ประกาศ
อดอาหารเพื่อประท้วงกระบวนการด�าเนินคดีที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งยิ่งเป็นการสะท้อนว่า