Page 303 - kpiebook67020
P. 303
302 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ทั่วไป จึงท�าให้ผู้คนอดที่จะรู้สึกและมีค�าถามต่อกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ (ชญานิษฐ์,
การสื่อสารส่วนบุคคล, 28 มกราคม 2565)
ส่วนนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ นั้นเป็นทั้งผู้ที่เคลื่อนไหว เป็นนักกฎหมาย และ
ในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการถูกด�าเนินคดีที่เกี่ยวเนื่อง
กับการชุมนุมด้วย ได้ให้ข้อมูลว่า ความไม่ปกติในกระบวนการยุติธรรมที่เกี่ยวข้องกับ
การด�าเนินคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองนั้น มีหลายเรื่อง แต่เรื่องหลัก ๆ
ที่ส�าคัญ ที่แกนน�าชุมนุมถูกด�าเนินคดีนั้น คือ ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 112 ซึ่งเมื่อกลายเป็นคดีดังกล่าว กลับกลายเป็นว่าศาลก็ไม่ได้ท�าตามกระบวน
การปกติทั่วไป ซึ่งหากเป็นคดีอื่น ๆ เมื่อมีคนยื่นขอประกันตัว มีการวางหลักทรัพย์
จ�านวนหนึ่งเป็นหลักประกัน ก็ได้รับการประกันตัวอยู่แล้ว ถ้าจะไม่ได้รับการประกันตัว
ก็ต้องมีเหตุผลที่ชัดเจน ซึ่งถ้าไม่มีเจตนาจะหลบหนีอยู่แล้วอย่างไรก็ต้องได้รับ
การประกันตัว แต่พอเป็นคดีการเมือง ที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองแล้ว
และมีการตั้งข้อหากระท�าความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว
และผู้ชุมนุมก็ไม่มีเจตนาจะหลบหนีอยู่แล้ว แต่ก็ไม่ได้รับการประกันตัว แต่ในทาง
กฎหมาย การที่จะกล่าวหาว่าศาลผิด หรือศาลไม่เป็นธรรมนั้น ก็เป็นเรื่องยาก
แต่ที่สังเกตเห็นคือ การที่แกนน�าผู้ชุมนุมจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ก็เป็นเรื่อง
บรรยากาศทางการเมือง หากมีแรงกดดันมีกระแสสังคมก็จะได้รับการประกันตัว
กล่าวอีกนัยหนึ่ง การด�าเนินคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองไม่ได้เป็น
การด�าเนินคดีตามปกติ แต่เป็นการท�าไปตามบรรยากาศทางการเมือง นอกจากนี้
นายยิ่งชีพยังตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งข้อกล่าวหาของต�ารวจเป็นเรื่องของการตั้ง
ข้อหาไปก่อน ไม่ได้ท�าหน้าที่ให้ความเป็นธรรมทุกคดี พอเกิดการชุมนุมแล้ว
ต�ารวจจะไม่ท�าอะไรก็ไม่ได้ ก็ต้องตั้งข้อกล่าวหา เพื่อจะได้รายงานกับผู้บังคับบัญชาได้