Page 306 - kpiebook67020
P. 306

305



                  3) ปัจจัยที่มีส่วนผลักดันให้เกิดปัญหามากขึ้น หรือ ปัจจัยส�าคัญ
           ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดปัญหา


                   ค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 ในคดีที่
           นายณฐพร โตประยูร ยื่นฟ้องนายอานนท์ น�าภา, นายภาณุพงศ์ จาดนอก, นางสาว
           ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล, นายพริษฐ์ ชีวารักษ์, นางสาวจุฑาทิพย์ ศิริขันธ์, นางสาว

           สิริพัชระ จึงธีรพานิช, นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข, และนางสาวอาทิตยา พรพรม

           ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามมาตรา 49 ของรัฐธรรมนูญ โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า

                          “การใช้สิทธิหรือเสรีภาพของผู้ถูกร้องที่ 1 (นายอานนท์ น�าภา)

                   ที่ 2 (นายภาณุพงศ์ จาดนอก) และที่ 3 (นางสาวปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล)
                   เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต เป็นการละเมิดกฎหมาย มีเหตุจูงใจ

                   เพื่อล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
                   ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง แม้เหตุการณ์ตามค�าร้อง

                   ผ่านพ้นไปแล้ว แต่หากยังคงให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รวมทั้งกลุ่ม
                   ในลักษณะองค์กรเครือข่ายกระท�าดังกล่าวต่อไป ย่อมไม่ไกลเกินเหตุที่จะ

                   น�าไปสู่การล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์
                   ทรงเป็นประมุข รัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง ให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอ�านาจ

                   สั่งการให้เลิกการกระท�าดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตได้”

                          “อาศัยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงวินิจฉัยว่า การกระท�าของผู้ถูกร้อง
                   ที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครอง

                   ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ
                   มาตรา 49 วรรคหนึ่ง และสั่งการให้ผู้ถูกร้องที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รวมทั้งกลุ่ม

                   องค์กรเครือข่ายเลิกกระท�าการดังกล่าวที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตด้วย
                   ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคสอง” (ศาลรัฐธรรมนูญ, 2564ก)
   301   302   303   304   305   306   307   308   309   310   311