Page 309 - kpiebook67020
P. 309

308  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ต่อคนไทยนับแสนคนที่ต้องการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์บุคคลสาธารณะ

        หรือสถาบัน และยังเป็นปูทางไปสู่การด�าเนินคดีร้ายแรงต่อจ�าเลยทั้ง 3 คนและคนอื่น ๆ
        ทั้งการจ�าคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตได้ (Amnesty International, 2021b)


               4.2.4 วิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤตการณ์

               การไม่ได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรมจากการเรียกร้องทางการเมือง

        ประกอบกับค�าวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ กลับยิ่งท�าให้สังคมแบ่งขั้วและแตกแยกมากยิ่งขึ้น
        ไม่มีพื้นที่ตรงกลาง และยิ่งค�าวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญว่าการเรียกร้องการปฏิรูป

        สถาบันเท่ากับเป็นการล้มล้างการปกครอง จะยิ่งท�าให้สถานการณ์ยิ่งแหลมคมมากยิ่งขึ้น
        และท�าให้กระบวนการยุติธรรมเกิดค�าถาม


               ในมุมของอาจารย์ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ ได้ให้ความเห็นว่าว่า ในความเข้าใจ
        ของตนนั้น ความยุติธรรม คือ หนทางในการยุติความขัดแย้งด้วยความเป็นธรรม

        ทั้งในแง่กระบวนการที่เป็นธรรม และผลที่เป็นธรรม แต่อยากเน้นที่กระบวนการ
        ที่เป็นธรรมเป็นส�าคัญด้วยซ�้า เป็นธรรมคือ ก่อให้เกิดความเที่ยงธรรม และน�าไปสู่

        ความชอบธรรมของกระบวนการและการบังคับใช้กฎหมายนั้นเอง เป็นพื้นฐาน
        เวลาความยุติธรรมถูกบังคับใช้อย่างเที่ยงธรรมและชอบธรรม มันไม่ใช่แค่แต่ผดุง

        ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมอย่างเดียว แต่เป็นพื้นฐาน
        ให้ผู้คนอยู่ร่วมกันได้ แม้ว่าตัวเองจะเป็นฝ่ายเสียประโยชน์ แต่ถ้ารู้สึกว่า ฉันก็ได้รับ

        ความเป็นธรรม กระบวนการยุติธรรมได้ตัดสินด้วยความยุติธรรมแล้ว คนที่เสียประโยชน์
        ก็จะยอม ในทางกลับกัน ปรากฏการณ์ที่เห็น คือคนในสังคมมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มมองเห็น

        และได้ข้อสรุปว่า กระบวนการยุติธรรมไม่ได้มุ่งยุติความขัดแย้งด้วยความเป็นธรรม
        จะน�าไปสู่วิกฤตอย่างน้อยใน 2 มิติ ได้แก่
   304   305   306   307   308   309   310   311   312   313   314