Page 308 - kpiebook67020
P. 308
307
ที่ถูกคุมขังอย่างทันที (FORUM-ASIA, 2021) และในวันที่ 1 กันยายน 2564 13 องค์กร
และเครือข่ายนานาชาติด้านสิทธิมนุษยชน ได้แก่ Amnesty International, Article 19,
ASEAN Parliamentarians for Human Rights, Asia Democracy Network,
Asian Forum for Human Rights and Development (FORUM-ASIA), Asian
Network for Free Elections (ANFREL), CIVICUS: World Alliance for Citizen
Participation, Civil Rights Defenders, FIDH – International Federation
for Human Rights, Fortify Rights, Human Rights Watch, International
Commission of Jurists, Manushya Foundation ได้ออกจดหมายเปิดผนึกถึง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี แสดงความกังวลต่อการใช้ความรุนแรง
และการใช้ก�าลังเกินความจ�าเป็นของต�ารวจ และเรียกร้องให้รัฐบาลไทยปฏิบัติตาม
มาตรฐานสากลในเรื่องสิทธิมนุษยชน ยุติการด�าเนินคดีกับผู้ชุมนุม และทบทวนกฎหมาย
และนโยบายที่มีผลกระทบต่อสิทธิในการชุมนุมโดยสันติ ซึ่งหากมีผลจ�ากัดสิทธิดังกล่าว
ก็ควรต้องมีการแก้ไขให้สอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศและมาตรฐานสากล
(Amnesty International, 2021a)
ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีค�าวินิจฉัยในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 นั้น
ก็มีปฏิกิริยาจาก Clement Voule ผู้รายงานพิเศษด้านเสรีภาพของสหประชาชาติ
ได้โพสต์ลงทวิตเตอร์ของตนเองว่า “#ประเทศไทย ฉันรู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งต่อ
การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ว่ากลุ่มปฏิรูปสถาบันฯ เป็นการล้มล้างการปกครอง
ต่อแกนน�าผู้เรียกร้องประชาธิปไตยทั้ง 3 ราย ผมขอเรียกร้องให้ประเทศไทย
ตระหนักถึงพันธะผูกพันในการปกป้องสิทธิของผู้ชุมนุมในการเรียกร้องแสดงออก”
(ข่าวสดออนไลน์, 2564) ส่วน Amnesty International ก็แสดงความกังวลต่อค�าวินิจฉัย
ของศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนี้ว่าเป็น “ค�าเตือนที่อันตราย” ต่อเสรีภาพในการแสดงออก
ถึงแม้ว่าโดยค�าวินิจฉัยจะไม่มีบทลงโทษจ�าคุกหรือปรับ แต่ก็กลายเป็นค�าเตือนที่อันตราย