Page 313 - kpiebook67020
P. 313

312  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ต่อหลักสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือว่าเป็นหลักสิทธิมนุษยชนที่ส�าคัญยิ่งในบริบท

        ของอารยประเทศ เป็นหัวใจส�าคัญของหลักการปกครองด้วยกฎหมาย ที่เรียกกันทั่วไป
        ว่าหลักนิติรัฐ นิติธรรม กล่าวคือ หลักประกันสิทธิขั้นพื้นฐานในคดีอาญา ที่บุคคล
        จะไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระท�าการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิด

        และก�าหนดโทษไว้ รวมไปถึงหลักประกันสิทธิในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรม

        ได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็วและทั่วถึง และสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณา
        อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเป็นธรรม (อรรถพล ใหญ่สว่าง, 2557, หน้า 1-2) หลักการ
        ดังกล่าวพัฒนามายาวนาน โดยมีภาษิตละติน “nullum crimen, nulla poena

        sine praevia lege poenali” หมายถึง “ไม่มีความผิด และไม่มีโทษ ถ้าไม่มีกฎหมาย

        ก�าหนดไว้ก่อน” โดยที่ในทางอาญานั้น ต้องยึดหลัก presumption of innocence
        คือการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาหรือจ�าเลยบริสุทธิ์ จะลงโทษได้ก็ต่อเมื่อมี
        พยานหลักฐานว่า ผู้นั้นกระท�าความผิด ซึ่งผู้กล่าวหามีหน้าที่ต้อง “พิสูจน์จนสิ้นสงสัย”

        (prove(beyond a reasonable doubt)


               การสอบสวนคดีอาญาที่มิชอบด้วยกฎหมาย ไม่สอดคล้องกับหลักการ
        ปกครองด้วยกฎหมาย ก่อให้เกิดปัญหาวิกฤตรากเหง้าในสังคมคือความเหลื่อมล�้า

        ความไม่เสมอภาค การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม สถานะทางเศรษฐกิจ สังคม
        ต�าแหน่งหน้าที่การงานมีผลต่อการต่อสู้คดีอาญา เกิดปรากฏการณ์ “สองหรือหลาย

        มาตรฐาน” ในการบังคับใช้กฎหมาย และบังคับโทษตามกฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
        โทษทางอาญา รวมถึงสิทธิและโอกาสในการถูกปล่อยตัวชั่วคราว หรือประกันตัวออกมา

        ต่อสู้คดี เนื่องจากขาดหลักประกัน การจัดหาทนายความเพื่อต่อสู้คดี หรือการถูกกักขัง
        แทนการจ่ายค่าปรับ เป็นปรากฏการณ์ที่บ่งชี้ถึง “ความเหลื่อมล�้า” ในกระบวนการ

        ยุติธรรมทางอาญาอย่างชัดเจน
   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317   318