Page 315 - kpiebook67020
P. 315
314 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
คะแนนเท่ากัน คือ 0.47 กระบวนการยุติธรรมทางแพ่ง 0.48 และรัฐบาลโปร่งใส 0.49
และผลส�ารวจ 5 ครั้งระหว่างปี ค.ศ.2015 - ค.ศ.2020 คะแนนกระบวนการยุติธรรม
ทางอาญาก็ต�่าที่สุดต่อเนื่องกันตลอดมา (ค.ศ.2020 คะแนน 0.43, ค.ศ.2019
คะแนน 0.42, ค.ศ.2017-2018 คะแนน 0.40, ค.ศ.2016 คะแนน 0.45 และ
ค.ศ.2015 คะแนน 0.43)
4.3.2 การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และการเสริมสร้างนิติรัฐ
นิติธรรมในสังคมไทย
การปฏิรูปการเมืองและบังคับใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช
2540 คือจุดเริ่มต้นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม และการเสริมสร้างนิติรัฐ นิติธรรม
ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือ เจตนารมณ์ในการสร้าง “การปกครองด้วยกฎหมาย” หรือ Rule of Law
เพื่อประกันสิทธิขั้นพื้นฐานว่าการใช้อ�านาจรัฐทั้งปวงต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ
ตามกฎหมาย โดยต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบและถ่วงดุลจากองค์กรอื่น ๆ ไม่มี
อ�านาจใดที่อยู่เหนือหรือสูงสุดโดยปราศจากการตรวจสอบ รัฐธรรมนูญฉบับต่อ ๆ มา
พัฒนาต่อยอด โดยบัญญัติหลักการ ก�าหนดให้มีองค์กร การปรับกระบวนการท�างาน
ในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและอาญา
ที่ก�าหนดหลักประกันสิทธิไว้หลากหลายประการ ก�าหนดให้มีกระบวนการยุติธรรม
ทางปกครอง และมีกระบวนการยุติธรรมทางรัฐธรรมนูญ อีกทั้งบัญญัติเรื่องนิติธรรม
1
หรือการปกครองด้วยกฎหมายเพื่อเป็นกรอบจ�ากัดอ�านาจรัฐทุก ๆ ด้าน
1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ยืนยันหลักการปกครองด้วยกฎหมายไว้
ในมาตรา 3 โดยใช้ค�าว่า “นิติธรรม” ดังนี้
“มาตรา 3 อ�านาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อ�านาจนั้น
ทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐต้องปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไปตาม