Page 319 - kpiebook67020
P. 319

318  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต



               4.3.4 แนวคิด ทฤษฎี และระบบสอบสวนคดีอาญาของต่างประเทศ


               แนวคิดการสอบสวนคดีอาญา:

               การสอบสวนคดีอาญาเป็นกลไกเบื้องต้นของกระบวนการยุติธรรมทางอาญา

        ที่ก�าหนดขึ้นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยของสังคม โดยหลักแล้วเป็นบทบาทของ
        ต�ารวจ ซึ่งบทบาทส�าคัญคือการสอบสวนเพื่อค้นหาและพิสูจน์ข้อเท็จจริงว่ามีการกระท�า
        ความผิดอาญาตามข้อกล่าวหาหรือไม่ เป็นการชี้ขาดคดีเบื้องต้นก่อนส�านวนคดี

        เข้าสู่การพิจารณาและตัดสินชี้ขาดโดยศาล


               ทฤษฎีการสอบสวน (Inquiry Theory):

               ทฤษฎีการสอบสวนคือการน�าหลักค้นหาความจริงและหลักเหตุผลมาใช้

        เป็นหลักในการสอบสวน รวบรวมพยานหลักฐานเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง โดยหลักการ
        ค้นหาความจริง (Principle of Substantive Truth) แบ่งเป็นการค้นหาความจริง

        ตามแบบที่ศาลมีบทบาทจ�ากัด ศาลมีบทบาทเป็นคนกลางควบคุมความชอบด้วย
        กฎหมายของคดี การน�าเสนอพยานหลักฐานที่รับฟังได้หรืออาจรับฟังได้ที่คู่ความยอมรับ

        กันได้ และการค้นหาความจริงในเนื้อหา โดยศาลมีบทบาทในการตรวจสอบและค้นหา
        ความจริงได้โดยไม่จ�ากัดรูปแบบ ส่วนหลักเหตุผล (Principle of Rationality)

        เป็นการยึดหลักความเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกันและกันของพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้มา
        โดยชอบด้วยกฎหมาย มีความเชื่อมโยงสอดคล้องต้องกันเป็นหลักในการพิเคราะห์ว่า

        รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้หรือไม่ (ณรงค์ ใจหาญ, 2559)

               ระบบสอบสวนคดีอาญาของต่างประเทศ แบ่งเป็น 2 ระบบหลัก ๆ ได้แก่

        (อรุณี กระจ่างแสง, 2532 (พรรณชฏา ศิริวรรณบุศย์, มปป. และ จิราธร เจริญวุฒิ, 2550)
   314   315   316   317   318   319   320   321   322   323   324