Page 321 - kpiebook67020
P. 321
320 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ลงในแบบบันทึกทางคอมพิวเตอร์ และตรวจสอบข้อเท็จจริงพร้อมพยานหลักฐาน
แห่งคดีว่าเพียงพอจะด�าเนินคดีหรือไม่ โดยเจ้าพนักงานสอบสวนมีอ�านาจดุลพินิจ
ในการสั่งไม่ด�าเนินคดีอาญาได้ โดยบันทึกไว้ว่าไม่ด�าเนินคดีต่อไป (No Further Action
หรือ NFA) กรณีผู้ต้องหาอายุไม่เกิน 18 ปี กระท�าความผิดข้อหาเบา หรือกรณีผู้ใหญ่
ที่กระท�าความผิดข้อหาเบาและเป็นการกระท�าความผิดครั้งแรก เจ้าพนักงานสอบสวน
มีอ�านาจออกใบตักเตือนคาดโทษ (caution) โดยไม่ฟ้องร้องคดีต่อศาลก็ได้ (สันติ
ผิวทองค�า, 2564) เมื่อผ่านขั้นตอนการสอบสวนคดีอาญาโดยต�ารวจ ส�านวนคดี
พร้อมพยานหลักฐานจะถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาสั่งฟ้องหรือไม่ฟ้องของอัยการ
อย่างไรก็ตาม การสืบสวนสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐานคดีอาญาของ
อังกฤษต้องด�าเนินการเป็นทีมโดยแบ่งหน้าที่กันชัดเจน ประกอบด้วย ต�ารวจผู้จับกุม
มีหน้าที่สอบปากค�าพยานบุคคลในที่เกิดเหตุ ท�าแผนที่เกิดเหตุ ถ่ายภาพสถานที่เกิดเหตุ
ถ่ายภาพบาดแผลผู้เสียหาย ตรวจยึดวัตถุพยาน รวบรวมพยานหลักฐานส่งมอบให้ต�ารวจ
ผู้ท�าหน้าที่พนักงานสอบสวน ซึ่งมีหน้าที่หลักในการสอบปากค�าผู้ต้องหาและประสาน
ขอค�าแนะน�าจากอัยการในการแจ้งข้อหา รวมถึงน�าตัวผู้ต้องหาส่งสถานีต�ารวจเพื่อ
การควบคุมตัวระหว่างสอบสวน ซึ่งเป็นอ�านาจของต�ารวจผู้ท�าหน้าที่พนักงานควบคุม
ระบบการสอบสวนคดีอาญาของประเทศไทย เป็นระบบแยกอ�านาจสอบสวน
ออกจากอ�านาจฟ้องร้องคดี โดยที่การด�าเนินคดีอาญาในชั้นก่อนการพิจารณา
(Pre-Trial Stage) หรือชั้นเจ้าพนักงาน แบ่งแยกบทบาทความรับผิดชอบงานสอบสวน
คดีเป็นของต�ารวจ และอ�านาจฟ้องร้องคดีเป็นของอัยการ ด้วยเป้าหมายเพื่อให้มี
การตรวจสอบถ่วงดุลและคานอ�านาจกัน ก่อนคดีเข้าสู่การพิจารณาในชั้นพิจารณา
พิพากษา (Trial Stage) ของศาล อย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติปรากฏว่ามีปัญหาวิกฤต
ชี้ชัดได้จากความไม่เชื่อมั่นและไว้วางใจต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของสาธารณชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชั้นการสอบสวนคดีอาญา ซึ่งกฎหมายก�าหนดให้อ�านาจแก่