Page 314 - kpiebook67020
P. 314
313
ยิ่งไปกว่านั้น ปัญหาวิกฤตเกี่ยวกับการสอบสวนคดีอาญายังส่งผลต่อ
ความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากสังคมว่า “ระบบอ�านวยความยุติธรรม” มีอยู่จริง
ไม่ปล่อยให้คนผิดลอยนวล หรือมี “การจับแพะ” เป็นเสาหลักของสังคมในการสร้าง
ความเป็นธรรมได้ เพราะถูกใช้เป็น “เครื่องมือ” จัดการฝ่ายตรงข้าม ยิ่งไปกว่านั้น
ยังพบว่ามีปัญหาวิกฤตเกี่ยวกับ “การแกล้งฟ้อง” หรือ “การฟ้องปิดปาก” คือ
การด�าเนินคดีเชิงยุทธศาสตร์เพื่อหยุดยั้งการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน (Strategic
Lawsuit Against Public Participation (SLAPP))
แม้ว่ามีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา (ฉบับที่ 34)
พ.ศ.2562 โดยแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 110 และมาตรา 117 เกี่ยวกับการปล่อยตัว
ชั่วคราวหรือการประกันตัว และมาตรา 161/1 เกี่ยวกับการป้องกันการฟ้องคดี
โดยไม่สุจริตหรือโดยบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อกลั่นแกล้งหรือเอาเปรียบจ�าเลย
แต่ในทางปฏิบัติยังไม่สามารถบังคับใช้ให้บรรลุเจตนารมณ์ได้
ปัญหาวิกฤตกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทยฝังรากลึก
มายาวนาน สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนชาวไทยถูกกระทบ ละเมิดศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์หรือสิทธิมนุษยชน ความไม่เชื่อมั่นไว้วางใจจากสาธารณชนคือ
ตัวบ่งชี้ในเชิงประจักษ์ ยิ่งกว่านั้นผลการศึกษาในระดับสากลสะท้อนถึงสายตาชาวโลก
อย่างชัดเจน ดังเช่น ผลส�ารวจดัชนี Rule of Law โดย The World Justice Project
(WJP) ปีล่าสุด คือ ค.ศ.2021 ประเทศไทยมีคะแนน Rule of Law 0.50 โดยอยู่ใน
ล�าดับที่ 83 จากทั้งหมด 139 ประเทศ และเมื่อพิจารณาจากค่าคะแนนตัวชี้วัดหลัก
ทั้งหมด 8 ตัวชี้วัด พบว่า กระบวนการยุติธรรมทางอาญามีค่าคะแนนต�่าที่สุด
คือ 0.43 รองลงไปคือ การบังคับใช้กฎระเบียบ และการจ�ากัดอ�านาจรัฐบาล
คะแนนเท่ากัน คือ 0.46, สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน และการปลอดจากคอร์รัปชัน