Page 311 - kpiebook67020
P. 311
310 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ศาลอาจจะตัดสินยกฟ้องก็ได้ แต่ความรู้สึกขัดแย้งมันเกิดขึ้นไปแล้ว ถึงศาลอาจจะ
ตัดสินถูกต้อง แต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าคนจะรู้สึกว่ากระบวนการยุติธรรมกลายเป็น
เครื่องมือของผู้มีอ�านาจ ก็อาจจะลามไปนอกเหนือจากคดีการเมือง ไปสู่คดีอื่น ๆ
ความรู้สึกไม่เชื่อถือ ไม่ศรัทธา แตกแยกในกระบวนการยุติธรรม ก�าลังกลายเป็นวิกฤต
ทางสังคมที่น่ากังวล (ยิ่งชีพ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 13 มกราคม 2565)
4.2.5 ข้อเสนอแนะ
ฝ่ายผู้มีอ�านาจต้องยุติการใช้กฎหมายและกระบวนการยุติธรรมเพื่อก�าจัด
ผู้เห็นต่าง และเปิดเวทีพูดคุยหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ เช่น กลไกรัฐสภา การก�าจัด
ผู้เห็นต่างไม่อาจท�าให้เสียงเรียกร้องเงียบสงบลงได้ทั้งหมด การยิ่งใช้กระบวนการ
ยุติธรรมและกฎหมายในการ “ปิดปาก” ผู้ชุมนุมและผู้ที่ต่อต้านจะยิ่งท�าให้
ความขัดแย้งในสังคมการเมืองมากขึ้น และจะเป็นตัวบ่อนเซาะความชอบธรรม
และความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรมเอง
ในความเห็นของนายยิ่งชีพ อัชฌานนท์ ได้เสนอทางออกของวิกฤตนี้ว่า
จริง ๆ แล้วเป็นเรื่องไม่ยาก แต่ไม่ท�า เพราะผู้มีอ�านาจพอใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นอยู่
พอใจที่ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือปิดปาก ปิดกั้นแสดงความคิดเห็น ทางออกที่เป็นไปได้
อยู่ที่คนในกระบวนการยุติธรรม เช่น ส�านักงานอัยการมีค�าสั่งว่า การชุมนุมสาธารณะ
ที่สงบปราศจากอาวุธ จะด�าเนินคดีฐานฝ่าฝืน พรก. ฉุกเฉินไม่ได้ และจะไม่มีการสั่ง
ฟ้องคดีดังกล่าว ถ้ามีการสั่งการในระดับนโยบายแบบนี้ ทุกคดีสั่งแนวทางเดียวกัน
ผู้มีอ�านาจก็จะเห็นว่า ทางอัยการไม่เอาด้วย แต่ไม่คิดว่าอัยการจะกล้าท�าแบบนั้น
หรือต�ารวจเองก็ควรมีแนวนโยบายไม่ด�าเนินคดีพร�่าเพรื่อ ด�าเนินคดีเท่าที่จ�าเป็น
เป็นคดีที่เดือดร้อน เป็นความผิดชั้นแจ้งเป็นความผิดขั้นต�่า เช่น กีดขวางการจราจร