Page 312 - kpiebook67020
P. 312

311




           ก็ปรับไป สังคมก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถ้าต�ารวจยังตั้งข้อหาให้หนักที่สุดเท่าที่

           กฎหมายมีอยู่ ตั้งข้อหาคนให้มากที่สุด แล้วรีบส่งฟ้องอัยการ ไปสู้กันในชั้นศาลต่อไป
           แบบนี้ ก็ไม่มีทางออกส�าหรับสังคม (ยิ่งชีพ, การสื่อสารส่วนบุคคล, 13 มกราคม 2565)


                  ส่วนในความเห็นของอาจารย์ชญานิษฐ์ พูลยรัตน์ ได้เสนอทางออกว่า
           กระบวนการยุติธรรม ต้องกลับไป “ผดุงความยุติธรรม” ซึ่งไม่ใช่เรื่องเหนือบ่ากว่าแรง

           ของคนในกระบวนการยุติธรรมที่จะผดุงความความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายเอาไว้
           โดยการบังคับใช้อย่างเสมอหน้า และเมื่อมองในมุมความขัดแย้งที่กว้างขึ้นแล้ว

           ทั้งรัฐและชนชั้นน�า อาจจะต้องถึงเวลามองประชาชนทั้งที่คิดเหมือนและคิดต่าง
           ว่าเป็นหุ้นส่วน ไม่ใช่ไพร่ฟ้าที่รอบัญชา หรือจะท�าอะไรกับเขาก็ได้ เราเดินทางมาจนถึง

           จุดที่คนอยากเป็นพลเมือง active citizen อยากมีส่วนร่วมในหลาย ๆ เรื่องที่กระทบ
           ต่อชีวิตเขา รัฐต้องปรับตัว และพร้อมจะรับฟังเสียง (ชญานิษฐ์, การสื่อสารส่วนบุคคล,

           28 มกราคม 2565)



           4.3 กระบวนการยุติธรรม : การสอบสวนคดีอาญาเพื่ออ�านวย
           ความยุติธรรมแก่สังคม


                  4.3.1 ปัญหาวิกฤตในระบบสอบสวนคดีอาญา

                  ปัญหาวิกฤตในระบบสอบสวนคดีอาญานับเป็นปัญหาเบื้องต้นที่ส่งผลกระทบ

           โดยตรงต่อวิกฤตศรัทธาและความเชื่อมั่นต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาทั้งระบบ
           ด้วยเป็นส่วนต้นของกระบวนการของ “ระบบอ�านวยความเป็นธรรรม” ในสังคม

           ส่งผลกระทบวงกว้างทั้งต่อผู้เสียหาย ผู้ถูกกล่าวหาหรือจ�าเลย รวมถึงประชาชนทั่วไป
           ยิ่งกว่านั้น การใช้อ�านาจโดยมิชอบหรือโดยทุจริตในระบบสอบสวนคดีอาญานั้นกระทบ
   307   308   309   310   311   312   313   314   315   316   317