Page 302 - kpiebook67020
P. 302
301
รวมถึงมีกระแสข่าวว่ากระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
จะมีการสอบสวนอาจารย์มหาวิทยาลัยที่ไปเป็นนายประกันให้กับแกนน�าผู้ชุมนุม
ซึ่งตนเองก็ยินดีหากจะมีการสอบสวน จากประสบการณ์ที่อาจารย์ชญานิษฐ์รับรู้โดยตรง
จากการเป็นนายประกันให้กับแกนน�าผู้ชุมนุมที่เป็นนักศึกษา โดยเฉพาะนายพริษฐ์นั้น
เรื่องที่ส�าคัญที่อยู่ในความรับรู้ของตนเองและคนอีกจ�านวนหนึ่ง คือมีความรู้สึกว่า
คนในกระบวนการยุติธรรมบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่ค่อยซื่อตรงและเที่ยงธรรม
โดยคนในกระบวนการยุติธรรมนั้น อาจารย์ชญานิษฐ์แบ่งการอธิบายออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่หนึ่งคือ ระดับต�ารวจ จะเห็นได้ว่าการบังคับใช้กฎหมายต่อกลุ่มการเมืองต่าง ๆ
ไม่ค่อยเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะการประกาศใช้ พรก.ฉุกเฉิน โดยอ้างเหตุผลเพื่อสกัด
โควิด-19 แต่จะเห็นได้ว่ามีผู้ชุมนุมฝั่งหนึ่งที่ถูกด�าเนินคดีนับไม่ถ้วน แต่อีกกลุ่มหนึ่ง
กลับไม่ถูกด�าเนินคดีเลย จึงเป็นค�าถามว่าการประกาศใช้ พรก. ฉุกเฉินนี้เป็นไป
เพื่อป้องกันโควิด-19 อย่างที่กล่าวอ้างจริงหรือไม่ ส่วนอีกระดับหนึ่ง คือ ระดับศาล
จากประสบการณ์การเป็นนายประกันพบว่า เป็นเรื่องที่ยากล�าบากมาก ที่ผู้ที่ถูกด�าเนิน
คดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุม ซึ่งอาจารย์ชญานิษฐ์เรียกว่า “นักโทษทางความคิด” เช่น
นายพริษฐ์ หรือคนอื่น ๆ จะได้รับสิทธิประกันตัว ทั้งที่สิทธิในการได้รับการประกันตัว
เป็นสิทธิของผู้ถูกกล่าวหาโดยทั่วไปที่มีสิทธิที่จะได้รับการประกันตัวในคดีที่ศาลยังไม่ได้
มีค�าพิพากษา สิ่งนี้เองที่พบว่าเป็น “ความผิดปกติ” ที่ทุกคนควรจะมีสิทธิประกันตัว
แต่กลับไม่ได้ ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจและเศร้าใจในเวลาเดียวกันว่าสังคมไทยและกระบวนการ
ยุติธรรมของไทยเดินมาถึงจุดที่ประชาชนต้องเรียกร้องให้บังคับใช้กฎหมายอย่างตรงไป
ตรงมา กล่าวให้ถึงที่สุด อาจารย์ชญานิษฐ์ย�้าว่า การเรียกร้องนี้ไม่ได้เป็นการเรียกร้อง
สิทธิพิเศษให้กับลูกศิษย์ของตนเองหรือ “นักโทษทางความคิด” คนอื่น ๆ แต่เป็น
การเรียกร้องสิทธิที่ทุกคนพึงจะมี แต่ท�าไมในคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมือง
นักโทษทางความคิดเหล่านี้กลับไม่ได้รับการประกันตัว เมื่อเปรียบเทียบกับคดีอื่น ๆ