Page 218 - kpiebook67020
P. 218
217
ที่ตื่นรู้และตระหนักถึงหน้าที่พลเมืองในสังคมประชาธิปไตย ที่จะต้องเข้าไปมีบทบาท
ในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น
นับตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน
การเมืองภาคประชาชนและการเมืองภาคพลเมืองเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น
ในสังคมไทยมาอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่นั้นการก่อตัวของการเมืองภาคประชาชน
มักเกิดจากการบังคับใช้อ�านาจที่ไม่เป็นธรรม เช่น กฎหมาย นโยบาย ที่เข้าไปมี
ผลกระทบต่อประชาชน ท�าให้เกิดความไม่พอใจของประชาชน จนน�าไปสู่การประท้วง
ของประชาชน และความต้องการเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�านาจรัฐให้มี
ความเป็นธรรมมากขึ้น ซึ่งการเมืองภาคพลเมืองลักษณะนี้เป็นการเมืองภาคพลเมือง
ที่ต้องการต่อสู้กับปัญหาเชิงโครงสร้าง ต้องการการเปลี่ยนแปลงแบบเด่นชัด เช่น
เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ที่นิสิตนักศึกษาลุกขึ้นต่อสู้เพื่อขับไล่รัฐบาลเผด็จการ
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ 2535 การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อเหลืองเสื้อแดง ตลอดจน
การต่อสู้ของม็อบเยาวชนเพื่อเรียกต้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ และการเรียกร้องประชาธิปไตย
เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในการเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองควรมุ่งเน้นไปที่การเสริมสร้าง
การเมืองภาคพลเมืองต้องการที่จะเข้าไปมีอิทธิพลต่ออ�านาจรัฐ เพื่อก�าหนดกฎหมาย
เสนอและปรับแก้นโยบาย กล่าวคือ การส่งเสริมพลเมืองที่มีส�านึกทางการเมือง
ที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศ ที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
การเมืองภาคพลเมืองที่น�าโดยพลเมือง (Citizen led Politics) ซึ่งสามารถท�าได้โดย
การที่รัฐยกระดับการกระจายอ�านาจ นั่นคือ ไม่เพียงแต่กระจายอ�านาจไปสู่องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการกระจายอ�านาจที่สามารถลงไปถึง
ชุมชนท้องถิ่น และคนในชุมชนอย่างแท้จริง เพื่อให้ประชาชนในฐานะพลเมืองสามารถ
มีอ�านาจในการตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเอง มีอ�านาจต่อรองกับภาคส่วนอื่น ๆ และ
มีอ�านาจในการบริหารจัดการภายในชุมชนของตนเอง (ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2564)