Page 213 - kpiebook67020
P. 213
212 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
2563) ส่วนในทางปฏิบัตินั้น มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่และพนักงานของรัฐในเรื่อง
การมีส่วนร่วมอย่างแพร่หลายมากขึ้น โดยเน้นที่การที่ภาครัฐจะด�าเนินการอะไร
ในพื้นที่ใดจะต้องให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วม
2.6 แนวคิดว่าด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political
participation)
การให้ความหมายของค�าว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง ทั้งในความหมายแคบ
และความหมายกว้างแตกต่างกันไปตามจุดเน้นของนักวิชาการทางรัฐศาสตร์
ตัวอย่างเช่น การศึกษาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในยุคต้น ๆ เป็นการให้ความหมาย
การมีส่วนร่วมแบบดั้งเดิม โดยเวอร์บาและไนย์ ให้ความหมายการมีส่วนร่วมทาง
การเมืองว่า “เป็นกิจกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายที่กระท�าโดยพลเมืองเฉพาะบุคคล
ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเข้าไปมีอิทธิพลต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้งหรือ
เข้าไปมีอิทธิพลต่อการกระท�าของเจ้าหน้าที่ของรัฐ” (Verba and Nie, 1972 อ้างใน
ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2563)
การกระท�าที่จัดว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคคลหรือของกลุ่ม
อาจเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมตามความสนใจของแต่ละคน เช่น การติดตามข่าวสาร
ทางการเมือง การไปใช้สิทธิ์ในการเลือกตั้ง การสนับสนุนผู้สมัครรับเลือกตั้งหรือ
พรรคการเมือง การติดต่อหรือพบปะกับนักการเมืองและพรรคการเมืองหรือเจ้าหน้าที่
ของรัฐ การมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมประท้วงทางการเมือง ต่อมาในช่วงทศวรรษ
1990 แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ขยายกว้างขึ้นไปจากแนวคิดแบบดั้งเดิม
โดยขยายครอบคลุมไปถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ (Public
policy) ทั้งนี้ พาร์รีและคณะ ให้ความหมายการมีส่วนร่วมไว้ว่า “การเข้าไปมีส่วนร่วม