Page 211 - kpiebook67020
P. 211
210 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
2.5 แนวคิดการมีส่วนร่วม (Participation)
การมีส่วนร่วมสามารถแบ่งออกได้เป็นสองสายใหญ่ ๆ สายแรก เป็นวาทกรรม
ทางวิชาการที่ปรากฏในแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (Development approach)
มีจุดเด่นอยู่ที่การมีส่วนร่วมทางสังคมหรือการมีส่วนร่วมของชุมชน (Social
or Community participation approach) สายที่สอง เป็นวาทกรรมที่ปรากฏใน
แนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมือง (Political participation approach) ตามแนวคิด
แบบดั้งเดิมนั้นเน้นที่การเข้าไปเกี่ยวข้องในกิจกรรมทางการเมืองในความหมายแคบ ๆ
เช่น การลงคะแนนเสียง การรณรงค์การเลือกตั้ง การสนับสนุนพรรคการเมือง เป็นต้น
ทั้งนี้แนวทางและจุดเน้นของทั้งสองสายนี้มีความแตกต่างกัน ท�าให้วิธีการหรือแนวทาง
ในการมีส่วนร่วมจึงแตกต่างกันไปด้วย ดังนั้นเมื่อใช้ค�าว่าการมีส่วนร่วมควรตระหนักว่า
ก�าลังกล่าวถึงการมีส่วนร่วมในแนวทางใด (ถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2563)
พัฒนาการของแนวคิดการมีส่วนร่วมในการพัฒนา (Development
participation approach) การมีส่วนร่วม ในการพัฒนา มีกระบวนทัศน์หลักอยู่ที่
การมีส่วนร่วมของภาคชุมชนและภาคสังคม โดยในช่วงปลายทศวรรษ 1970
มีนักวิชาการให้ความหมายของการมีส่วนร่วมว่า หมายถึง ความพยายามในการสร้าง
กลุ่มหรือขบวนการของชุมชนที่เดิมทีถูกเพิกเฉยหรือถูกกีดกันให้เข้าไปมีส่วนร่วม
ในการควบคุมทรัพยากรและสถาบันของราชการในสถานการณ์ทางสังคมสถานการณ์
ใดสถานการณ์หนึ่ง (Stiefel and Wolfe, 1994, p.5 อ้างในถวิลวดี บุรีกุลและคณะ,
2563) ตามความหมายนี้การมีส่วนร่วมจึงเป็นการมีจัดตั้งขึ้นนอกภาครัฐ เช่น
ขบวนการทางสังคมในรูปแบบต่าง ๆ กลุ่มองค์กรต่าง ๆ ทางสังคม ซึ่งการจัดตั้ง
กลุ่มต่าง ๆ ขึ้นในสังคมหรือชุมชนนั้นเป็นแนวทางอย่างหนึ่งในการที่จะส่งเสริมให้
กลุ่มองค์กรสามารถเข้าไปมีบทบาทในการมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม ท�าให้
ในช่วงปลายทศวรรษ 1970 ต่อเนื่องมาจนถึงต้นทศวรรษ 1990 แนวคิดการมีส่วน