Page 206 - kpiebook67020
P. 206
205
ภายใต้กระบวนทัศน์ใหม่ของการแสวงหาแนวทางการท�างานใหม่ของหน่วยงาน
ภาครัฐ ฉะนั้น จึงเกิดการปรับรูปแบบการด�าเนินงานเพื่อท�างานร่วมกับภาคส่วนอื่น
ในฐานะที่เป็นพันธมิตรกัน (Partner) โดยกรอบแนวคิดการบริหารกิจการบ้านเมือง
เป็นการพิจารณาบทบาทของรัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดการจัดการเพื่อเอื้ออ�านวยให้
ตัวแสดงจากแต่ละภาคส่วนที่มีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ในการแสดงบทบาทที่
แตกต่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น ตัวแสดงภาครัฐ องค์กรธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม
ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ รวมไปถึงองค์การระหว่างประเทศ เกิดการประสานงาน
กันอย่างสอดคล้องและร่วมมือกัน (Jon Pierre, 2000)
ในทรรศนะของ Anne Mette Kjaer บทบาทของภาครัฐในการบริหาร
กิจการบ้านเมืองคือ การจัดการเครือข่าย (Network management) การปฏิบัติหน้าที่
ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐในการจัดการเครือข่ายมิใช่การใช้อ�านาจหน้าที่
ในการควบคุมสั่งการในฐานะที่อยู่เหนือกว่าเครือข่ายต่าง ๆ ในสังคม แต่อยู่ในต�าแหน่ง
ที่เสมอกัน นั่นคือ เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐมีบทบาทเอื้ออ�านวยให้ตัวแสดงกลุ่มต่าง ๆ
มีการสร้างเครือข่ายเพื่อด�าเนินงานด้านต่าง ๆ ภายใต้เป้าหมายเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ในขณะที่หน่วยงานภาครัฐก็อาจเข้าไปร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเหล่านั้นด้วย
Anne Mette Kjaer อธิบายว่า เครือข่ายตัวแสดงกลุ่มต่าง ๆ มีการจัดระบบ
จัดการดูแลตนเอง มีการก�าหนดทิศทางและเป้าหมายในการด�าเนินกิจกรรมของ
ตนเอง การด�ารงอยู่อย่างอิสระของเครือข่ายที่ประกอบขึ้นจากกลุ่มคนหรือองค์กรที่มี
ผลประโยชน์เฉพาะด้านต่าง ๆ ร่วมกัน ส่งผลให้การใช้อ�านาจรัฐควบคุมจัดการเรื่องต่าง ๆ
ในสังคมด�าเนินไปด้วยความยากล�าบากยิ่งขึ้น เนื่องจากเครือข่ายของตัวแสดงกลุ่มต่าง ๆ
ในสังคมนั้น เป็นระบบที่ด�ารงอยู่ด้วยตัวเอง และไม่ขึ้นต่อกลไกการควบคุมบังคับบัญชา
ของภาครัฐ (Auto-poetic) จึงท�าให้การควบคุมแทรกแซงการท�างานของเครือข่าย
เหล่านี้เป็นไปได้ยาก (Anne Mette Kjaer, 2004) เนื่องจากเครือข่ายจ�านวนมาก