Page 204 - kpiebook67020
P. 204

203




           ภาครัฐภายใต้บริบทการเติบโตของกระบวนการประชาธิปไตย ส่งผลให้การปฏิบัติงาน

           ของเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐต้องอยู่ภายใต้กลไกการแสดงความรับผิดชอบต่อพลเมือง
           โดยแนวคิดนี้มองว่า นอกจากความรับผิดชอบในการปฏิบัติภารกิจตามอ�านาจหน้าที่
           รับผิดชอบแล้ว เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐยังจ�าเป็นต้องปฏิบัติงานในหน้าที่ด้วย

           ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการอีกด้วย เมื่อผู้ปฏิบัติหน้าที่มีส�านึกรับผิดชอบต่อประชาชน

           ผู้รับบริการ ก็จะท�าให้เกิดการพัฒนาการท�างานให้มีประสิทธิภาพและมีความชอบธรรม
           ยิ่งขึ้น ฉะนั้น ภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ การเสริมสร้างอ�านาจของพลเมือง
           จึงเป็นหนทางหนึ่งในการก�ากับคุณภาพและประสิทธิภาพของการจัดบริการสาธารณะ

           โดยหน่วยงานภาครัฐ ตัวอย่างเครื่องมือการเพิ่มพูนบทบาทของภาคพลเมือง เช่น

           การจัดให้มีคณะกรรมการก�ากับการบริหารโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้ปกครอง
           การจัดท�ากรอบมาตรฐานการด�าเนินงานของหน่วยงานภาครัฐโดยพลเมือง (Citizens’
           charters) เป็นต้น (Anne Mette Kjaer, 2004)


                  จะเห็นได้ว่า ความเปลี่ยนแปลงในกระบวนทัศน์การบริหารงานภาครัฐ

           ในช่วงทศวรรษที่ 1980 ซึ่งเป็นผลมาจากการปฏิรูประบบการบริหารงานของภาครัฐ
           การปฏิรูปที่ส�าคัญ ได้แก่ การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นของภาคเอกชน การน�า

           หลักการจัดการแบบภาคเอกชนมาใช้ในภาครัฐ รวมไปถึงการกระจายอ�านาจของ
           หน่วยงานภาครัฐส่วนกลางไปยังหน่วยงานในระดับภูมิภาคและท้องถิ่น ตลอดจน

           อ�านาจทางการเมืองบางส่วนของรัฐบาลได้ถูกถ่ายโอนไปยังองค์กรระดับเหนือรัฐชาติ
           นอกจากนี้ การบริหารงานภาครัฐยังได้เปิดพื้นที่ให้ภาคส่วนอื่นภายนอกภาครัฐ

           ไม่ว่าจะเป็นภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคประชาชน ได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง
           ในการจัดบริการสาธารณะมากขึ้น ตลอดจนมีการเพิ่มพูนบทบาทของภาคพลเมือง

           ให้มีส่วนร่วมในการก�ากับการจัดบริการสาธารณะให้มีประสิทธิภาพอีกด้วย
   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208   209