Page 199 - kpiebook67020
P. 199

198  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ความขัดแย้ง และเขาวิจารณ์ว่าประชาธิปไตยแบบร่วมมือจะเป็นส�าเร็จได้ในสังคม

        ที่มีระดับความเป็นไปได้ที่จะเกิดความขัดแย้งในระดับต�่า ถ้าความสัมพันธ์ระหว่าง
        กลุ่มต่าง ๆ ไม่ราบรื่น ประชาธิปไตยแบบร่วมมือนี้จะสร้างเงื่อนไขของสงครามกลางเมือง
        มากกว่าที่จะสร้างเสถียรภาพทางการเมือง (Barry, 1975) ส่วน Horowitz วิจารณ์ว่า

        ประชาธิปไตยแบบร่วมมือสามารถน�าไปสู่การแบ่งแยกทางชาติพันธุ์ได้ในที่สุด

        เพราะสุดท้ายแล้วการเป็นพันธมิตรในรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ร่วมกัน จะเกิดพลวัต
        ของการแข่งขันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์เอง ฉะนั้น การเป็นพันธมิตรร่วมกันระหว่าง
        กลุ่มชาติพันธุ์หลายกลุ่มจะเป็นตัวเร่งให้เกิดการแข่งขันระหว่างกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยกันเอง

        และยังวิจารณ์ด้วยว่าประชาธิปไตยแบบร่วมมือนี้มีลักษณะหยาบที่จะน�าไปใช้ได้กับ

        ทุกที่ที่มีความแตกแยกสูง (one size fits all) (Horowitz, 1985; Horowitz, 2002)

               ทั้งนี้ ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ เป็นแนวทางที่ให้

        ความส�าคัญกับชนชั้นน�าเป็นอย่างมาก กล่าวคือ ชนชั้นน�าเป็นผู้ก�าหนดความเป็นไป
        ในสังคม เสถียรภาพทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชนชั้นน�าของแต่ละกลุ่มในสังคม

        ที่มีความแตกแยกสูงสามารถตกลงกันได้ ความขัดแย้งจะถูกท�าให้ลดลงและแก้ไขได้
        ก็ด้วยบทบาทของชนชั้นน�าเอง สิ่งที่ผู้เขียนจะเสนอคือ ความร่วมมือระหว่างชนชั้นน�า และ

        กลไกในเชิงสถาบัน เป็นเพียงเครื่องมือหนึ่งในการจัดการความขัดแย้ง แต่ความสัมพันธ์
        ระหว่างประชาชนที่แตกต่างก็มีความส�าคัญเช่นกัน การจัดการความขัดแย้งในสังคม

        ที่มีความแตกแยกสูง ต้องท�าทั้งสองทางนี้ไปพร้อม ๆ กัน
   194   195   196   197   198   199   200   201   202   203   204