Page 202 - kpiebook67020
P. 202
201
ถูกมองว่าเป็นการแสดงบทบาทของรัฐที่เหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม
ในยุคหลังสงคราม ด้วยการมีบทบาทน�าในการเปลี่ยนแปลงสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจ
ช่วงที่สาม ในช่วงเวลานี้รัฐมิได้ถูกมองว่าเป็นตัวน�าในการแก้ไขปัญหาของ
สังคมอีกต่อไป แต่กลับถูกมองว่าการแสดงบทบาทของรัฐเป็นต้นเหตุของปัญหาต่าง ๆ
ในสังคม ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยนส�าคัญของการแสดงบทบาทของรัฐในหลายประเทศ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหราชอาณาจักร สมัยนายกรัฐมนตรี Margaret Thatcher และ
สหรัฐอเมริกา สมัยประธานาธิบดี Ronald Reagan ดังนั้น รัฐบาลหลายประเทศ
จึงพยายามยับยั้งการเติบโตและการขยายบทบาทของรัฐ เพื่อเปิดโอกาสให้ระบบ
ตลาดเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนสังคมแทน การลดบทบาทของรัฐในช่วงเวลานี้
นักวิชาการเรียกกระแสการเปลี่ยนแปลงนี้ว่า “การจัดการภาครัฐแนวใหม่” (New Public
Management) เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้ภาคเอกชนด�าเนินการ การผ่อนปรน
การก�ากับควบคุม การตัดลดงบประมาณรายจ่ายของภาครัฐ การลดอัตราภาษี
การด�าเนินนโยบายเศรษฐกิจด้วยภาคการเงิน การปรับโครงสร้างเชิงสถาบันขนาน
ใหญ่และการปฏิรูประบบบริหารงานภาครัฐ และการน�าหลักการบริหารจัดการของ
ระบบตลาดมาใช้ในกระบวนการผลิตและการให้บริการสาธารณะของรัฐ
ช่วงที่สี่ เริ่มต้นในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เป็นต้นมา ถือได้ว่าเป็นจุดเปลี่ยน
ส�าคัญอีกครั้งหนึ่งในการปรับรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคม ซึ่งมีความพยายาม
ในการสร้างตัวแบบใหม่ของการบริหารงานภาครัฐ (new model of government)
โดยตั้งอยู่บนฐานแนวคิดใหม่เกี่ยวกับการแสดงบทบาทหลักของภาครัฐ และบทบาท
ที่ควรจะเป็นของภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระบวนการน�านโยบายต่าง ๆ ของภาครัฐไปสู่
การปฏิบัติด้วยมุมมองใหม่ รวมถึงการมองว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งควรจะมี
บทบาทในการเป็นตัวกลางเชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคม