Page 205 - kpiebook67020
P. 205
204 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
2. บทบาทของภาครัฐในการบริหารจัดการเครือข่ายภายใต้แนวคิด
การบริหารกิจการบ้านเมือง (Governance)
จากสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูประบบการบริหารงานของภาครัฐ ท�าให้
สภาพสังคมไม่ได้มีเพียงบทบาทของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว และไม่สามารถแบ่งแยก
ขอบเขตการแสดบทบาทระหว่างภาครัฐกับภาคส่วนอื่นออกจากกันได้อย่างชัดเจน
จึงส่งผลให้กระบวนการบริหารงานภาครัฐเกิดการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย Anne
Mette Kjaer อธิบายว่า ระบบการเมืองการปกครองอยู่ในสภาวะแตกกระจายออกเป็น
ส่วนย่อย (Fragmentation of political systems) (Anne Mette Kjaer, 2004) ท�าให้
ภาครัฐจ�าเป็นต้องปรับบทบาทของตนไปสู่การท�าหน้าที่ “การก�ากับควบคุมทิศทาง”
(Steering) ในการบริหารกิจการบ้านเมือง โดยการแสดงบทบาทร่วมกันของ
หลายภาคส่วน (John Pierre and B. Guy Peters, 2000) ในช่วงทศวรรษที่ 1980
ซึ่งเกิดเปลี่ยนแปลงที่ส�าคัญในการบริหารงานของภาครัฐ เริ่มมีการน�าค�าว่า
“การบริหารกิจการบ้านเมือง” (Governance) มาใช้ในความหมายที่มีนัยที่กว้าง
ไปกว่าการใช้อ�านาจหน้าที่ของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียวตามความหมายของค�าว่า
“การปกครอง” (Government) แต่ค�าว่าการบริหารกิจการบ้านเมืองเป็นเรื่องที่
เกี่ยวข้องกับบทบาทของตัวแสดงอื่น ๆ ในสังคมด้วย (Anne Mette Kjaer, 2004)
เดิมทีกระบวนการท�างานของรัฐมีเอกภาพสูงภายใต้โครงสร้างการด�าเนินงาน
ของระบบราชการ ซึ่งเป็นโครงสร้างแบบรวมศูนย์ แต่เมื่อเกิดการเพิ่มบทบาทให้
ภาคส่วนอื่นเข้ามาท�างานแทนภาครัฐ ทั้งภาคเอกชน ภาคประชาสังคม รวมถึง
หน่วยงานรัฐในรูปแบบใหม่ที่เป็นอิสระจากระเบียบวิธีปฏิบัติราชการ ท�าให้มีตัวแสดง
ที่หลากหลายในพื้นที่สาธารณะ (Multi-level and Multi-sector governance)
ดังนั้น จึงเกิดสภาพแตกกระจายของโครงสร้างการท�างานของรัฐ (Fragmentation)
ที่ไม่สามารถสั่งการตามโครงสร้างการบังคับบัญชาได้อีกต่อไป แต่จะท�าอย่างไรเพื่อให้
เกิดเอกภาพในการขับเคลื่อนนโยบายให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้