Page 208 - kpiebook67020
P. 208
207
ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ (2549) ได้ท�าการวิจัยเรื่องทศธรรม: การบริหาร
กิจการบ้านเมืองที่ดีและได้ให้ความหมายธรรมาภิบาลว่า ธรรมาภิบาลเป็นกลไก
เครื่องมือและแนวทางด�าเนินงานที่เชื่อมโยงกันของภาคเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
โดยเน้นความจ�าเป็นในการสร้างความร่วมมือจากภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน
อย่างจริงจังและต่อเนื่อง เพื่อให้ประเทศมีพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยที่เข้มแข็ง
มีความชอบธรรมทางกฎหมายและมีเสถียรภาพ มีโครงสร้างและกระบวนการบริหาร
ที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้ อันจะน�าไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2.4 แนวคิดการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
ปัจจุบันการวัดเรื่องคอร์รัปชันองค์กรความโปร่งใสสากลมีเครื่องมือ หรือ
ดัชนีที่ส�าคัญในการชี้วัดการทุจริตคอร์รัปชันในระดับโลก มีอยู่ 5 ตัวด้วยกัน คือ
ดัชนีภาพลักษณ์การทุจริตคอร์รัปชัน (Corruption Perceptions Index: CPI)
เครื่องชี้วัดการทุจริตคอร์รัปชันทั่วโลก (Global Corruption Barometer: GCB)
ดัชนีการติดสินบน (Bribe Payers Index: BPI) ผลส�ารวจการทุจริตคอร์รัปชันของโลก
(Global Corruption Report: GCR) ผลส�ารวจความโปร่งใสทางการเงิน (Promoting
Revenue Transparency Project) และผลส�ารวจการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
(Transparency in Reporting on Anti - Corruption: TRAC)
ถ้าวัดจากดัชนีชี้วัดคอร์รัปชันโลก หรือ Corruption Perception Index
(CPI) สถานการณ์ทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทยในปี พ.ศ.2563 ผลการจัดอันดับ
พบว่า ไทยได้คะแนน 36 จาก 100 คะแนน อันดับที่ 104 จาก 180 ประเทศทั่วโลก
และอยู่อันดับที่ 5 ของประเทศในภูมิภาคอาเซียน จากผลคะแนนภาพลักษณ์การทุจริต
ในปี 2563 เป็นเครื่องบ่งชี้ส�าคัญถึงสถานการณ์การทุจริตในประเทศไทยว่ายังเป็น