Page 209 - kpiebook67020
P. 209
208 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
เรื่องส�าคัญ รัฐบาลจ�าเป็นต้องมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาการทุจริตอย่างจริงจัง
เพื่อน�าไปสู่แนวทางปฏิบัติในการสร้างความโปร่งใสในการด�าเนินการของหน่วยงาน
ภาครัฐ นอกจากนี้ภาคธุรกิจเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน จะต้องตระหนัก
ถึงความส�าคัญของปัญหาการทุจริต และไม่ยอมทนต่อการทุจริต ซึ่งจะน�าไปสู่สังคม
ที่สุจริตส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ
ปัญหาสาเหตุส�าคัญของการทุจริตคอร์รัปชันในประเทศไทย ภาส ภาสสัทธา
(อ้างถึงใน ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ, 2559:49-50) มาจากความล่าช้าในการด�าเนินงาน
ของหน่วยงานที่ท�าหน้าที่ในการตรวจสอบชี้มูล รวมถึงข้อก�าหนดในกฎหมายที่ไม่เอื้อ
ต่อการปฏิบัติหน้าที่ อีกทั้งข้อบังคับใช้การลงโทษของกฎหมายก็ยังไม่แข็งพอ ท�าให้
ผู้มีอ�านาจไม่สามารถสั่งการ หรือด�าเนินการอย่างถอนรากถอนโคนได้ นอกจากนี้
สาเหตุของการคอร์รัปชันอาจจ�าแนกได้หลายรูปแบบ Heidenheimer (1978)
ได้จ�าแนกรูปแบบการทุจริตออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การทุจริตสีด�า หมายถึง
การทุจริตที่คนส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่ามีความผิดและสมควรถูก ต�าหนิ
การทุจริตสีเทา เป็นการกระท�าที่คนส่วนหนึ่งเห็นว่าควรถูกลงโทษ แต่อีกส่วนหนึ่ง
เห็นแตกต่างออกไป และคนส่วนใหญ่มีความเห็นคลุมเครือ เช่น การมีรายได้นอกเหนือ
ต�าแหน่งหน้าที่ การทุจริตสีขาว เป็นการกระท�าที่คนส่วนใหญ่ โดยเฉพาะชนชั้นน�า
ในสังคมเห็นว่ายอมรับได้ เช่น การแซงคิว การใช้อภิสิทธิ์ การให้ค่าน�้าร้อนน�้าชา เป็นต้น
นอกจากนั้น Heidenheimer (1989) ยังแบ่งรูปแบบการทุจริตออกเป็น 3 ประเภท
ประกอบด้วย การทุจริตคอร์รัปชันขนาดเล็ก (Petty Corruption) การทุจริตคอร์รัปชัน
เป็นประจ�า (Routine Corruption) และการทุจริตคอร์รัปชันร้ายแรง (Aggravated
Corruption บางครั้งเรียกว่า Grand Corruption หรือ Structural Corruption
หรือ Systematic Corruption) สองประเภทแรกเป็นการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น