Page 214 - kpiebook67020
P. 214

213




           ในกระบวนการนโยบายสาธารณะ ทั้งในขั้นเริ่มต้นของนโยบาย การก�าหนดสาระส�าคัญ

           ของนโยบายและการน�านโยบายไปปฏิบัติ โดยพลเมืองเข้ามามีส่วนเป็นผู้กระท�า ขับเคลื่อน
           เพื่อที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งฝ่ายการเมืองและฝ่ายข้าราชการ
           ประจ�า” (Parry, Mosley and Day, 1992 อ้างในถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2563)


                  การมีส่วนร่วมจึงมีขอบเขตที่กว้างขึ้นจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการทาง

           การเมืองแบบตัวแทนขยายครอบคลุมไปสู่การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบาย
           อย่างไรก็ตามการมีส่วนร่วมทั้งสองรูปแบบนี้ ยังถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางอ้อม

           เนื่องจากเป็นการก�าหนดนโยบายมาจากส่วนบน (top down) คือรัฐ จากนั้นจึงให้
           มีการรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะ หรือที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมของสาธารณะ

           (Public participation) ซึ่งไม่ใช่การให้ภาคประชาชนก�าหนดนโยบายจากความต้องการ
           ของตนเอง หรือที่เรียกว่าการมีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายจากส่วนล่าง (bottom

           up) อันจะเป็นการกระจายอ�านาจให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก�าหนดนโยบายของ
           ตัวเอง เพื่อให้ประชาชนมีอ�านาจในการตัดสินใจและการด�าเนินงานอยู่ที่ภาคประชาชน

           ป้องกันการมีส่วนร่วมโดยประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งการตัดสินใจและการด�าเนินงาน
           อยู่ที่นักการเมือง


                  การมีส่วนร่วมในความหมายใหม่

                  ในช่วงทศวรรษ 1990 การมีส่วนร่วมในการพัฒนาของภาคชุมชนได้ขยาย

           ขอบเขตที่กว้างขวางมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อการเปิดกว้างของภาครัฐที่น�าเอาแนวคิด
           การมีส่วนร่วมของประชาชนมาใช้ในการบริหารจัดการโครงการและแผนงาน โดยภาครัฐ

           ใช้วิธีการนี้เพื่อท�าให้ประชาชนเข้ามามีอิทธิพลต่อนโยบายและการวางแผนในระดับ
           ต่าง ๆ ส่งผลให้การมีส่วนร่วมของประชาชนมีความผูกพันใกล้ชิดกับรัฐมากขึ้น

           เกิดมิติความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับการพัฒนาที่ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งเป็น
   209   210   211   212   213   214   215   216   217   218   219