Page 215 - kpiebook67020
P. 215
214 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
การมีส่วนร่วมของภาคชุมชนภาคประชาสังคมและภาครัฐ ที่มีหน้าที่ในการรับผิดชอบ
ร่วมกัน มิใช่การมีส่วนร่วมแบบเดิมที่รัฐเป็นผู้รับผิดชอบแล้วดึงภาคชุมชนเข้ามา
มีส่วนร่วมในฐานะตัวประกอบ ซึ่งให้น�้าหนักไปที่การมีส่วนร่วมทางอ้อมและไม่สามารถ
สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนได้อย่างแท้จริง
ในช่วงปลายทศวรรษ 1990 เริ่มมีการใช้ค�าว่า การมีส่วนร่วมของพลเมือง
(citizen participation) เข้ามาแทนที่ ค�าว่า การมีส่วนร่วมของประชาชน (people
participation) การมีส่วนร่วมของพลเมือง หมายถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ที่มีขอบเขตกว้างกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามความหมายแคบแบบดั้งเดิม
เนื่องจากการมีส่วนร่วม ทางการเมืองในความหมายใหม่นี้ พลเมืองได้เข้าไปเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับหน่วยทางสังคมต่าง ๆ ในกิจกรรมสาธารณะ ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วม
ด้วยส�านึกในความเป็นพลเมือง เป็นลักษณะของพลเมืองที่ต้องการที่จะเข้าไป
มีบทบาทในการพัฒนา ในฐานะพลเมืองในสังคม ที่มีสิทธิ เสรีภาพในการที่จะเข้าไป
มีส่วนร่วมต่อชุมชนและสังคม ทั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นการมีส่วนร่วมด้วยส�านึก
ในความเป็นพลเมือง กล่าวคือ พลเมืองตระหนักถึงความรับผิดชอบต่อท้องถิ่นและ
สังคมของตนเอง มีความกระตือรือร้นที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดการเรื่องต่าง ๆ
ที่มีผลกระทบต่อตนเอง ชุมชนและสังคม มีการให้น�้าหนักไปที่ตัวของพลเมืองมากขึ้น
ไม่ได้ให้น�้าหนักหรือยึดภาครัฐกันตัวตั้งตามแนวคิดแบบเดิม ซึ่งแนวคิดการมีส่วนร่วม
แบบใหม่นี้เป็นการกระจายอ�านาจ และกระจายความเป็นประชาธิปไตยให้ถึงชุมชน
(Mansuri and Rao, 2012 อ้างในถวิลวดี บุรีกุลและคณะ, 2563) ไม่ใช่การกระจาย
อ�านาจให้ถึงเพียงแค่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเท่านั้น ซึ่งในการส่งเสริมให้พลเมือง
เข้ามามีส่วนร่วมนั้น ภาครัฐต้องสนับสนุนและเปิดโอกาสให้พลเมืองได้มีพื้นที่สาธารณะ
(public sphere) เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยน ปรึกษาหารือ เพื่อก�าหนด ประเด็น
สาธารณะ รายการส่งเสริมให้พลเมืองต้องเข้ามาร่วมรับผิดชอบร่วมกัน และน�าไปสู่