Page 220 - kpiebook67020
P. 220
219
ที่มีคุณภาพ เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมในการใช้อ�านาจ
โดยตรง ทั้งนี้การเป็นพลเมืองเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาประชาธิปไตยให้มีคุณภาพ
(ทศพล สมพงษ์, 2563)
ความหมายของการเมืองภาคพลเมือง
เสกสรรค์ ประเสริฐกุล นิยาม การเมืองภาคประชาชนว่าคือ การเคลื่อนไหว
อย่างมีจิตส�านึกทางการเมืองของกลุ่มประชาชน เพื่อลดฐานะการครอบง�า รวมทั้ง
เพื่อโอนอ�านาจบางส่วน มาให้ประชาชนใช้ดูแลชีวิตตนเองโดยตรง เป็นปฏิกิริยา
ตอบโต้การใช้อ�านาจรัฐ เพื่อถ่วงดุลอ�านาจ การครอบง�าของระบบตลาดเสรี
ในภาคประชาชน และเป็นกระบวนการใช้อ�านาจทางตรงของประชาชนที่มากไปกว่า
การเลือกตั้ง เพื่อเข้าไปสู่กระบวนการทางนโยบายทุกขั้นตอน โดยมีจุดหมายส�าคัญ
คือ การลดระดับการปกครองโดยรัฐ จ�ากัดขอบเขตอ�านาจรัฐ ให้สังคมดูแลตนเอง
ถ่วงดุลอ�านาจรัฐด้วยประชาสังคมโดยไม่มุ่งยึดอ�านาจรัฐ (ประภาส ปิ่นตบแต่ง, ม.ป.ป.)
นายแพทย์ประเวศ วะสี ได้ให้ความหมายค�าว่า “การเมืองภาคประชาชน
หรือการเมืองภาคพลเมือง” ไว้ว่า พลเมืองมีส่วนร่วมในการก�าาหนดนโยบายสาธารณะ
การวางแผนและขับเคลื่อน การพัฒนาและการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐทุกระดับ
(ศรัณยุ หมั้นทรัพย์, 2550)
สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ อธิบายว่า “การเมืองภาคประชาชน” หมายความถึง
การเมืองที่ภาคประชาชนส่วนต่าง ๆ มีส่วนร่วมในทุกระดับทั้งในระดับท้องถิ่น
ระดับชาติและระดับนานาชาติ เป็นการเมืองที่ประชาชนนอกสภาฯ มีบทบาทและ
เข้าใจถึงอ�านาจโดยตรงในการจัดสรรทรัพยากร สาธารณะต่าง ๆ และการเข้าถึง
อ�านาจในการก�าหนดนโยบายสาธารณะโดยไม่ต้องผ่านการเมืองประชาธิปไตยแบบ