Page 222 - kpiebook67020
P. 222
221
5 แบบตัวอย่างเช่นลักษณะประเภท การแก้ไขปัญหาแบบ ลักษณะแบบ “ฉลาม”
เป็นการแก้ปัญหาความขัดแย้งโดยใช้อ�านาจตามต�าแหน่ง ค�านึงถึงเป้าหมายงานหรือ
ความต้องการของตนเองมากกว่าความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน หรือ ลักษณะประเภท
การแก้ไขปัญหาแบบ “นกฮูก” (เผชิญหน้ากัน, สุขุม) จะมองความขัดแย้งว่าเป็นปัญหา
ที่จะต้องแก้ไข ให้คุณค่าแก่เป้าหมายและสัมพันธภาพ สิ่งที่ต้องการคือการบรรลุเป้าหมาย
ของตนเองและผู้อื่นเมื่อเกิดความขัดแย้งจึงจ�าเป็นจะต้องเลือกหาวิธีการต่าง ๆ
มาจัดการกับความขัดแย้งนั้น ๆ ซึ่งจ�าแนกตามพฤติกรรมที่เป็นหลักส�าคัญอันเป็น
วิธีการแก้ไขความขัดแย้งพื้นฐาน 5 วิธีได้แก่
1. การหลีกเลี่ยง (Avoidance) ซึ่งเป็นวิธีการที่ให้ประสิทธิภาพผลน้อยที่สุด
ใน 5 วิธีการแก้ไขความขัดแย้งทั้งหมด เพราะเนื่องจากการหลีกเลี่ยงมิได้ท�าให้
ความขัดแย้งนั้นหมดไป แต่เป็นเพียงการหลบเลี่ยงจากปัญหาที่ไม่ได้เกิดการแก้ไข
และพร้อมที่จะกลับมาเจอกับปัญหาได้อีก ผู้ที่ใช้วิธีการนี้มักจะพยายามให้ตนเอง
หนีไปจากเหตุการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่จะน�าข้อโต้แย้ง
เข้ามาหาตน หรือโดยวิธีการเปลี่ยนประเด็นการสนทนา (Changing Issues)
2. การยอมตาม (Accommodation) มองว่าเป็นวิธีการแก้ปัญหาด้วย
การยอมเสียสละความต้องการของตนเองเพื่อที่จะให้ฝ่ายตรงข้ามบรรลุความต้องการ
ของตน เป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่อีกฝ่าย เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งแต่วิธีนี้
มักจะไม่ก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้ยินยอมให้ เพราะตนต้องยอมสละความต้องการ
และเป้าประสงค์ของตนให้แก่ผู้อื่น จึงเป็นการสร้างความคับแค้นใจที่ติดอยู่ในใจ
วิธีการนี้จึงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีนักในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่ดีมากนัก เพราะเป็น
การยอมแต่ไม่ใช่การยอมรับซึ่งกันและกันอย่างแท้จริง ปัญหาความขัดแย้งอาจจะ
ได้รับการแก้ไขได้เฉพาะหน้าเท่านั้น