Page 223 - kpiebook67020
P. 223
222 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
3. การประนีประนอม (Compromise) ผู้เขียนมองว่าเป็นวิธีที่บุคคล
ทั้ง 2 ฝ่ายที่มีความขัดแย้ง สามารถตกลงกันได้โดยวิธี “พบกันครึ่งทาง” ต่างฝ่ายต่างต้อง
ยอมลดความต้องการของตนบางส่วน ดังนั้น วิธีการนั้นจึงเป็นการที่แต่ละฝ่ายต้อง
เสียสละบางส่วน เพื่อให้ได้ข้อตกลงที่สามารถยุติปัญหาความขัดแย้ง มักจะพบได้ว่า
บุคคลทั้งสองฝ่าย จะไม่ค่อยเห็นด้วยอย่างเต็มที่นักในระยะยาวเพราะต่างฝ่ายต่างก็ต้อง
ยอมเสียบางส่วนของตน อาจจะด้วยความไม่เต็มใจ อย่างไรก็ดี การใช้วิธีประนีประนอม
เพื่อลดข้อขัดแย้งอาจจะใช้ได้ผลกับความขัดแย้งในผลประโยชน์อันเกิดจากความจ�ากัด
ของทรัพยากรที่จะมีผลสนองต่อความต้องการของแต่ละฝ่ายได้
4. การแข่งขัน (Competition) เป็นการใช้วิธีเอาแพ้เอาชนะ เพื่อให้ตนเอง
สามารถบรรลุความต้องการอาจจะต้องใช้อ�านาจหรือการแสดงความก้าวร้าวรุนแรง
อันอาจจะเกิดมาจากเมื่อมีอุปสรรคหรือสิ่งขัดขวางมิให้บรรลุเป้าหมาย จึงใช้วิธีการ
ที่อาจจะต้องท�าลายอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนหวังไว้ ผู้ที่อยู่ในลักษณะของ
การแข่งขันมักจะแสวงหาข้อโต้แย้งอยู่เสมอและจะค�านึงถึงจุดหมายเฉพาะของตน
โดยใช้การบีบบังคับให้มีการยอมรับ เพื่ออ�านาจที่เหนือกว่า และจะรับรู้เฉพาะจุดดี
ของตน มองหาจุดบกพร่องของฝ่ายตรงข้ามวิธีการนี้เป็นการสร้างความพึงพอใจให้แก่
ผู้ที่เป็นฝ่ายชนะแต่ในทางตรงกันข้ามผู้ที่เป็นฝ่ายแพ้อาจจะเก็บความคับแค้นใจไว้
ในขณะหนึ่ง เพื่อรอเวลาที่จะหาทางแก้แค้นในที่สุด อย่างไรก็ดี วิธีการแข่งขันถือได้ว่า
เป็นวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งวิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผล เมื่อทั้ง 2 ฝ่าย มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
เพียงช่วงระยะเวลาอันสั้น และไม่มีความจ�าเป็นที่จะต้องรักษาสัมพันธภาพในระยะยาว
5. การร่วมมือ (Collaboration) การแก้ไขความขัดแย้งด้วยการเผชิญหน้า
กับความขัดแย้งนั้น เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดจากวิธีการแก้ปัญหาความขัด
แย้งที่กล่าวมาแล้วทั้งหมดคู่กรณีทั้งสองฝ่ายยินยอมที่จะหันหน้าเข้าหารือกันเพื่อหาวิธี