Page 226 - kpiebook67020
P. 226
225
การจัดการความขัดแย้งที่ยืดเยื้อเรื้อรัง (Protracted Conflict) ไม่สามารถ
ใช้การจัดการความขัดแย้งแบบเพียงผิวเผินได้ Edward Azar เห็นว่าการจัดการ
ความขัดแย้งที่เรื้อรัง ที่เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน ไม่สามารถใช้การจัดการ
ความขัดแย้งด้วยการทหารที่เน้นยุติความขัดแย้งชั่วคราว โดยปราศจากการเข้าไป
จัดการกับความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์ เช่น ความรู้สึกปลอดภัย อัตลักษณ์
การมีส่วนร่วม ความเท่าเทียมกัน เป็นต้น (Azar อ้างถึงใน Abu-Nimer, 2001)
การสร้างความสมานฉันท์ สามารถจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อสามารถวิเคราะห์
ความขัดแย้งท�าได้โดยระบุมุมมองของทุกฝ่ายที่มีส่วนได้ส่วนเสียหรือคู่กรณี การหา
สาเหตุที่แท้จริงของปัญหาความขัดแย้ง มุมมองหรือทัศนคติระหว่างกัน ความสัมพันธ์
ระหว่างกันที่ผ่านมา รวมถึงรูปแบบวิธีการที่ใช้ในการจัดการความขัดแย้ง การพิจารณา
ถึงบริบททางประวัติศาสตร์ การประเมินทางเลือก การเจรจาไกล่เกลี่ยมีหลายรูปแบบ
แต่ที่รู้จักกันมากคือ การเจรจาโดยค้นหาจุดยืนและจุดสนใจ อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิด
ความขัดแย้งและความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว มีทางเลือกให้กับมนุษย์อยู่ 2 ทางหลักคือ
1) การเลือกใช้ความรุนแรงเพื่อแก้ไขกับปัญหาความขัดแย้ง 2) การใช้สันติวิธีในการแก้ไข
ปัญหาความขัดแย้งนั้น ส�าหรับ การเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งรุนแรงสู่สังคมสันติสุข
เป็นสิ่งที่ส�าคัญและจ�าเป็นมากในการอยู่ร่วมกันต่อไปในสังคม สภาพการณ์ดังกล่าว
จ�าเป็นต้องมีกระบวนการแปรเปลี่ยนความขัดแย้ง (Conflict Transformation)
ซึ่งเป็นการเน้นแก้ไขความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางการเมือง
สังคม และ/หรือเศรษฐกิจ ตลอดจนทัศนคติและความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้ง
และ/หรือกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในสังคม โดยมุ่งเน้นในการขจัดเงื่อนไขของความขัดแย้ง
และสร้างสภาวะแวดล้อมที่เอื้อต่อการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเพื่อน�าไปสู่การเกิดสันติสุข
ที่ยั่งยืนในสังคม (Miall et al., 2011)