Page 230 - kpiebook67020
P. 230
229
เครื่องมือในการมองอนาคตแต่ละเครื่องมือก็สามารถน�าไปประสมประสาน
กับเครื่องมืออื่นเพื่อตอบโจทย์ในเฉพาะด้าน ขอบเขตที่ก�าหนดหรือเชิงประเด็น
หรือนโยบายหรือการสร้างวิสัยทัศน์ทางการเปลี่ยนแปลงหรือการทดสอบนโยบาย
หรือกลยุทธ์รวมทั้งเทคโนโลยี การหาโจทย์และประเด็นในอนาคตล้วนเป็นสิ่งส�าคัญ
• การมองอนาคตอย่างมีกลยุทธ์ (Strategic Foresight) แตกต่างจาก
การวางแผนแบบเดิม ๆ ซึ่งมักจะสร้างตัวแบบต่าง ๆ ออกมา แต่
การวางแผนการมองอนาคตอย่างมีกลยุทธ์นี้ใช้ในสถานการณ์ที่มี
ความยืดหยุ่น ไม่แน่นอน ซับซ้อน อธิบายได้ยากเพราะโลกในปัจจุบันมักจะ
คาดการณ์ได้ยากขึ้น และเราไม่สามารถที่จะรู้อนาคตได้อย่างชัดเจนได้
การวางแผนแบบเดิม ๆ ไม่สามารถที่จะให้ผลที่เชื่อถือได้ สิ่งส�าคัญ
ที่เกี่ยวข้องคือ
• ความผันผวน (volatility) หมายถึงการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้น ๆ ลง ๆ
ซึ่งจะมีสามมิติคือความเร็วของการเปลี่ยนแปลงที่มีความแปรปรวน
และคาดการณ์ความเร็วไม่ได้ บางครั้งก็เร็วบางครั้งก็ช้า นอกจากนี้
การเปลี่ยนแปลงกระจายไปในหลายมิติในลักษณะที่คาดการณ์ไม่ได้
การเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องที่พบเห็นในรูปแบบเดียว เช่น ราคาของสินค้า
หรือการเปลี่ยนแปลงที่กระจายออก นอกจากนี้ระดับของการผันผวน
ก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้ก็มีผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ
• ความไม่แน่นอน (uncertainty) มีสิ่งที่ไม่รู้อีกจ�านวนมากและมีผลกระทบ
ต่อสิ่งต่าง ๆ เป็นการยากที่จะพยากรณ์ผลจะเกิดขึ้น ดังนั้นจึงเป็นการยาก
ที่จะเปรียบเทียบสถานการณ์ที่ผ่านมากับการพยากรณ์ในอนาคตเพราะ
มีความไม่แน่นอนอยู่