Page 234 - kpiebook67020
P. 234

233




                  พิรงรอง รามสูตร (2558) ระบุว่าประทุษวาจามีระดับความรุนแรงที่แตกต่างกัน

           ขึ้นอยู่กับเนื้อหาและวิธีการสื่อสาร และเจตนาของผู้ส่งสาร โดยสามารถแบ่งได้เป็น
           4 ระดับ จากระดับรุนแรงน้อยที่สุดไปถึงรุนแรงมากที่สุด ได้แก่ ระดับที่ 1 การแบ่งแยก
           แบบไม่ตั้งใจต่อกลุ่มเป้าหมาย ระดับที่ 2 การตั้งใจแบ่งแยก/กีดกัน/สร้างความเป็น

           เขา-เราต่อกลุ่มเป้าหมาย ระดับที่ 3 การยั่วยุให้เกิดความเกลียดชังต่อกลุ่มเป้าหมาย

           และระดับที่ 4 การยั่วยุให้มีการใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มเป้าหมาย

                  ในโลกของสื่อสังคมออนไลน์ที่โยงในมิติความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

           ปัญหาสังคมที่ต้องได้รับการแก้ไขจากทุกภาคส่วน สืบเนื่องจากกระแสของ Disruptive
           Technology ที่ก�าลังเป็นกระแสว่าจะท�าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหรือถ้าใช้ค�ารุนแรง

           ก็คือจะฆ่าหรือท�าลายวิธีการสื่อสารแบบดั้งเดิม ซึ่งอาจใช้ได้กับบางสังคมที่มีความพร้อม
           ในการปรับตัวและพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลง จะเห็นได้ว่าการสื่อสารบนสังคมออนไลน์

           เปรียบเสมือนดาบสองคมและท�าให้เกิดความขัดแย้งได้โดยทั้งตั้งใจและไม่ตั้งใจ
           ส�าหรับวิธีการที่ดีที่สุดในการใช้ชีวิตท่ามกลางสมรภูมิการปฏิบัติการข่าวสารบนสื่อสังคม

           ออนไลน์ คือ รู้เท่าทันสื่อ มีสติในการใช้ ต้องให้ความรู้เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันอย่างถูกต้อง
           ทันยุค ทันสมัย ตรงกลุ่มเป้าหมาย และภาครัฐต้องไม่ท�าให้ประชาชนรู้สึกว่าถูกจ�ากัด

           สิทธิขั้นพื้นฐานในสิทธิการแสดงออกทางการสื่อสารในสังคมออนไลน์




           2.12 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


                  คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ
           หรือ คอป. (2555) ได้รายงานการด�าเนินการตรวจสอบและค้นหาความจริงที่เป็น

           รากเหง้าของปัญหาความขัดแย้งและเหตุการณ์ความรุนแรง โดยมีเป้าหมายที่จะให้
   229   230   231   232   233   234   235   236   237   238   239