Page 235 - kpiebook67020
P. 235
234 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
เกิดความเข้าใจร่วมกัน และการเยียวยาอันจะนาไปสู่การป้องกันมิให้เกิดเหตุ
ความรุนแรงและความเสียหายอีกในอนาคต ซึ่งมีศาสตราจารย์ ดร.คณิต ณ นคร
เป็นประธาน ได้สรุปสาเหตุของความขัดแย้งทางการเมือง เมื่อปี พ.ศ.2553 คือ
ความขัดแย้งรุนแรงทางการเมืองเสมือนว่าเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือ
กลุ่มบุคคลที่ยึดมั่นในอุดมการณ์แตกต่างกันเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วความขัดแย้งที่เกิดขึ้น
ได้หยั่งรากลึกถึงปัญหาในระดับโครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม ชนชั้น
และการเมืองของประเทศ โดยความขัดแย้งนั้นเดิมอาจเริ่มจากความขัดแย้งระหว่าง
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลซึ่งมีความแตกต่างทางแนวคิดและอุดมการณ์อย่างชัดเจน และ
มีความหวาดระแวงต่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคมของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
ว่าจะส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์หรืออานาจที่เคยมีอยู่เดิม ท�าให้เกิดการต่อต้าน
การเปลี่ยนแปลง เพื่อรักษาสถานะเดิมของตนไว้มิให้เปลี่ยนแปลง (Status Quo)
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลและกลุ่มบุคคลในลักษณะดังกล่าว เมื่อประกอบกับ
สภาพปัญหาเชิงโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคม (Socio-Economic Structures)
ความเหลื่อมล�้าระหว่างชนชั้นในสังคม การเข้าแทรกแซงทางการเมืองของทหาร
ด้วยการรัฐประหาร การใช้สื่อเป็นเครื่องมือในการขยายผลความขัดแย้ง และ
ความอ่อนแอของกลไกในระบอบประชาธิปไตยและกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งข้อวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับความสอดคล้องกับหลักนิติธรรมของกลไกของรัฐ
ต่าง ๆ ท�าให้เห็นได้ว่าแท้จริงแล้ววิกฤตความขัดแย้งในประเทศไทยนั้นเกิดจาก
รากเหง้าของปัญหาที่โยงใยกันอย่างซับซ้อน ไม่มีมูลเหตุใดเพียงล�าพังที่จะสามารถ
อธิบายปัญหาความขัดแย้งได้