Page 237 - kpiebook67020
P. 237
236 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
4) ข้อเสนอแนะเรื่องรัฐธรรมนูญ คือ การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการ
แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อให้สังคมเกิดความเชื่อมั่นต่อกระบวนการที่เกิดขึ้น
และเพื่อแสวงหาฉันทามติร่วมกันในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ รัฐต้องให้ประชาชนได้รับทราบ
ข้อมูลที่ครบถ้วนและถูกต้อง สามารถเข้าใจประเด็นปัญหาและความจ�าเป็นในการแก้ไข
รัฐธรรมนูญ ติดตามตรวจสอบว่าการแก้ไขนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวมโดยแท้จริง
1) ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยก�าลังอยู่ระหว่าง
การเปลี่ยนผ่าน (Society in Transition) ทุกฝ่ายจึงควรเรียนรู้และทาความเข้าใจ
รากเหง้าของความขัดแย้งเพื่อแสวงหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานและ
ปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมเพื่อให้สามารถก้าวข้ามความขัดแย้งไปสู่ความปรองดอง
อย่างยั่งยืน
2) ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ เพื่อให้สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย
อยู่ในสถานะที่สามารถด�ารงพระเกียรติยศได้อย่างสูงสุดภายใต้รัฐธรรมนูญและ
สอดคล้องกับระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลควรสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
และท�าความเข้าใจร่วมกันของสังคมเกี่ยวกับสถานะและบทบาทของสถาบัน
พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ
ส่งเสริมให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์และให้มีเวทีให้บุคคลที่มี
ความคิดเห็นแตกต่างกันได้พูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างสร้างสรรค์
โดยสันติวิธี
สถาบันพระปกเกล้า (2556) ได้ศึกษางานวิจัยการสร้างความปรองดองแห่งชาติ
เสนอต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดอง
แห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร ได้วิเคราะห์ 2 ประเด็นหลักคือ รากเหง้าของความขัดแย้ง
ทางการเมืองที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน (2556) และมีปัจจัยหรือกระบวนการใดที่ท�าให้