Page 221 - kpiebook67020
P. 221
220 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ตัวแทน ทั้งจากการเลือกตั้งและแต่งตั้ง ซึ่งหมายถึงต้องสร้างประชาธิปไตยแบบ
มีส่วนร่วมและประชาธิปไตยทางตรงให้เกิดขึ้น เพื่อก�ากับและก�าหนดทิศทาง
การเคลื่อนไหวของประชาชนมากกว่าฝากความหวังและพึ่งพาระบบประชาธิปไตย
แบบตัวแทนเพียงอย่างเดียว (พงศ์นิวัฒน์ ยุทธภัณฑ์บริภาร, 2560)
กล่าวได้ว่า การเมืองภาคพลเมือง หมายถึง การใช้อ�านาจของพลเมือง
ในกิจกรรมทางสังคม กิจกรรมทางการเมืองตามสิทธิของพลเมือง เกิดขึ้นได้ในระดับ
ชุมชนหรือ ระดับชาติในประชาธิปไตยไทยที่มีตั้งแต่ทศวรรษ 2510 ได้พัฒนามาสู่
กิจกรรมทางการเมือง สิทธิเสรีภาพ สิ่งแวดล้อม ความรู้ภูมิปัญญา สุขภาพอนามัย
สิทธิทางเพศ หรืออาจจะกล่าวโดยรวมคือพลเมืองได้ใช้อ�านาจของตนในกระบวนการ
พัฒนาคุณภาพชีวิต จัดการชุมชนท้องถิ่นของตนเองด้วยการไปหนุนเสริมกับรัฐ
บางกิจกรรมอาจจะท้าทายกับอ�านาจรัฐ การแสดงออกนี้ในมิติการมีส่วนร่วมทาง
การเมืองของพลเมืองที่ส่งผลต่อการจัดความสัมพันธ์เชิงอ�านาจกับรัฐใหม่ พลเมือง
จึงเป็นตัวกระท�าทางการเมืองใหม่ (รงค์ บุญสวยขวัญ, 2557)
2.8 แนวคิดทฤษฎีการป้องกันความขัดแย้ง
Johnson David, & Johnson Roger (1987) มีแนวคิดการจัดการแก้ไข
ความขัดแย้งว่าบุคคลแตกต่างกัน จึงใช้กลยุทธ์ในการจัดการความขัดแย้งโดยแต่ละคน
มีรูปแบบการแก้ปัญหาเป็นของตน สามารถเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้และหาวิธีการใหม่ ๆ
ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการความขัดแย้งในภาวะขัดแย้ง ประเด็นหลัก คือ การบรรลุ
วัตถุประสงค์ส่วนตัว เมื่ออยู่ในภาวะขัดแย้ง คนแต่ละคนจะมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างจาก
ผู้อื่น และการรักษาสัมพันธภาพกับบุคคลอื่น แบบพฤติกรรมในการจัดการความขัดแย้ง