Page 217 - kpiebook67020
P. 217

216  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ก็จะกระตุ้นให้พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ในด้าน

        ของปัจจัยประสิทธิภาพทางการเมือง (political efficiency) ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายใน
        คือ ส�านึกความเป็นพลเมือง ที่ผลักดันให้เกิดการเข้าไปมีส่วนร่วมเพื่อเปลี่ยนแปลง
        รวมถึงปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบ เช่น ความไม่เป็นธรรม ความเหลื่อมล�้า ช่องว่าง

        ทางเศรษฐกิจสังคม การเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร เป็นต้น ส่งผลให้ประชาชนเกิดการรับรู้

        ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายมากขึ้น ท�าให้ข้อมูลข่าวสารมีอิทธิพลต่อความคิดความเชื่อ
        และอุดมการณ์ทางการเมือง และอาจไปกระตุ้นจิตส�านึกความเป็นพลเมืองจนน�าไปสู่
        การตัดสินใจออกมามีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง สภาพและบริบททางการเมือง

        จึงเป็นปัจจัยส�าคัญที่ท�าให้เกิดการเติบโตของการเมืองภาคประชาชน


               ส่วนการเมืองภาคพลเมือง (Citizen Politics) เป็นลักษณะของการที่ประชาชน
        เข้าไปมีอิทธิพลต่ออ�านาจรัฐ (Soft Power) เช่น การก�าหนดนโยบาย การปรับแก้ไข

        กฎหมาย หรือการเป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อ�านาจเพื่อก�ากับควบคุมรัฐ
        ให้ด�าเนินการตามที่ตนเองต้องการได้ โดยการเมืองภาคพลเมืองแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่


               1. กลุ่มที่มีปฏิกิริยาต่อปัญหาของตนเอง กล่าวคือ เป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ
        จากนโยบายรัฐหรือกฎหมายที่มีปัญหาท�าให้เกิดการรวมตัวกันเพื่อออกมาเรียกร้อง

        ให้มีการแก้ไขกฎหมายหรือนโยบายเพื่อลดผลกระทบ เช่น ปัญหาชาวบางกลอย
        กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มสมัชชาคนจน กลุ่มสมัชชาเกษตรกรรายย่อย พลเมืองกลุ่มนี้

        เป็นพลเมืองที่เข้ามามีส่วนร่วมในการปกป้องชุมชนจากแผนพัฒนาหรือนโยบายรัฐ
        ซึ่งเกิดจากปัจจัยภายนอกที่ท�าให้พลเมืองลุกขึ้นเพื่อเรียกร้องให้รัฐแก้ไขปัญหาของกลุ่มตน


               2. กลุ่มพลเมืองที่มีส�านึกทางการเมือง กลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่ต้องการเข้ามา
        มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชน การออกกฎกติกาเพื่อแก้ปัญหาของชุมชน เป็นพลเมือง

        ที่เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา โดยไม่ได้เกิดจากแรงกดดันจากภายนอก แต่เป็นพลเมือง
   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221   222