Page 216 - kpiebook67020
P. 216

215




           การผลักดัน เข้าสู่กระบวนการ การด�าเนินงานของรัฐ (Atlee, 2012 อ้างในถวิลวดี

           บุรีกุลและคณะ, 2563) การมีส่วนร่วมด้วยส�านึกในความเป็นพลเมือง จึงเป็น
           องค์ประกอบส�าคัญของการมีส่วนร่วมแบบใหม่ที่เกิดจากส�านึกรับผิดชอบของพลเมือง
           ในสังคมที่ต้องการที่จะเข้าไปมีบทบาทในการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น


                  งานวิจัย “การศึกษาอนาคตและฉากทัศน์การเมืองไทยเพื่อสร้างประชาธิปไตย

           ที่ยั่งยืน : การเมืองภาคพลเมือง” ได้วิเคราะห์ลักษณะของการเมืองภาคพลเมือง
           เอาไว้สองประเภท คือ การเมืองภาคประชาชน (People’s Politics) และการเมือง

           ภาคพลเมือง (Citizen Politics)

                  การเมืองภาคประชาชน (People’s Politics) เป็นลักษณะของการที่ประชาชน

           เข้าไปเพื่อเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�านาจรัฐ (Hard Power) โดยเป็นลักษณะของ
           การที่ประชาชนมีความไม่ไว้วางใจ และไม่เชื่อมั่นในตัวรัฐ ท�าให้มีการรวมตัวกัน เช่น

           การประท้วงของประชาชน การเรียกร้องเพื่อให้มีการแก้ไขกฎหมายหรือรัฐธรรมนูญ
           ที่ก่อให้เกิดปัญหาการลิดรอนสิทธิ เสรีภาพของประชาชน เป็นต้น ทั้งนี้การเมือง

           ภาคประชาชนที่มีเป้าหมายเพื่อเข้าไปเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอ�านาจรัฐนั้น ปัจจัยที่ก่อ
           ให้เกิดการเมืองภาคประชาชนมีหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยในด้านค่านิยมทางการเมือง

           กล่าวคือ หากพลเมืองมีค่านิยมทางการเมืองที่สนับสนุนส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย
           สนับสนุนการเข้าไปมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อ�านาจรัฐ การมีส่วนร่วม

           ในกระบวนการทางนโยบายสาธารณะ ก็จะกระตุ้นให้เกิดพลเมืองต้องการเข้าไป
           มีส่วนร่วมทางการเมือง ตลอดจนปัจจัยในด้านการจัดสรรอ�านาจหรือโครงสร้างอ�านาจ

           ตามกรอบรัฐธรรมนูญที่เป็นปัจจัยส�าคัญในการเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง
           เช่น รัฐธรรมนูญ 2540 ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมือง มีการรับรอง

           สิทธิเสรีภาพเอาไว้ในรัฐธรรมนูญเพื่อให้มีการคุ้มครองการใช้สิทธิ เสรีภาพของประชาชน
   211   212   213   214   215   216   217   218   219   220   221