Page 207 - kpiebook67020
P. 207
206 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
มีศักยภาพร่วมกันต่อต้านขัดขืนการผลักดันนโยบายสาธารณะของภาครัฐได้อย่าง
ทรงพลัง ซึ่งส่งผลให้รัฐต้องเผชิญกับปัญหาด้านความสามารถในการปกครอง
(Governability problems) (Anne Mette Kjaer, 2004) ในทางกลับกัน เครือข่าย
เหล่านั้นก็สามารถสร้างพลังในการร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ
อย่างมีประสิทธิผลได้เช่นกัน
หากภาครัฐมีการประสานงาน ปรึกษาหารือและเจรจาต่อรองกับเครือข่าย
ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะแต่ละด้าน ดังนั้น ภาครัฐจึงจ�าเป็นที่จะต้องปรับ
รูปแบบการท�างานจากการมุ่งเน้นการใช้อ�านาจหน้าที่สั่งการและควบคุมบังคับ
ไปสู่การท�าหน้าที่ประสานการท�างานกับภาคส่วนอื่น ๆ ในสังคม ซึ่งต้องอาศัย
ทักษะในเชิงการเจรจาต่อรองเพื่อหาจุดร่วมระหว่างทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตามในนัยนี้
ความสัมพันธ์ระหว่างเครือข่ายกับภาครัฐจึงมีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกันและกัน
(Mutual dependence) (John Pierre and B. Guy Peters, 2000) ดังนั้น ในแง่นี้
กลไกการท�างานแบบเครือข่ายของตัวแสดงในภาคสังคมและกลไกการท�างานแบบ
สั่งการตามล�าดับขั้นของระบบราชการจึงมิได้ด�ารงอยู่หรือท�างานอย่างแยกออกจากกัน
อย่างเด็ดขาด แต่อาจมีบางส่วนหรือบางจุดของกระบวนการท�างานที่กลไกการท�างาน
ของทั้งสองระบบเข้ามาเกี่ยวพันหรือทับซ้อนกัน เช่น การประสานเชื่อมโยงการท�างาน
ระหว่างเครือข่ายแต่ละกลุ่มอาจจ�าเป็นต้องอาศัยบทบาทการท�างานของหน่วยงาน
ภาครัฐในการสร้างชุดเชื่อมโยงให้เกิดขึ้น ผ่านการวางกฎกติกาที่เป็นธรรมส�าหรับ
ทุกฝ่าย การประสานให้ทุกฝ่ายร่วมลงนามสัญญากันหรือการเอื้ออ�านวยให้ทุกฝ่าย
สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เป็นต้น การจัดการเครือข่ายจึงต้องอาศัยบทบาทของ
หน่วยงานภาครัฐในฐานะผู้ประสานการท�างานร่วมกัน (Coordination) (Anne Mette
Kjaer, 2004)