Page 203 - kpiebook67020
P. 203

202  การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต




        ไปพร้อมกับการปล่อยให้กลไกตลาดท�างานขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ


                การปฏิรูประบบการบริหารงานภาครัฐหรือระบบราชการ (Public sector
        reforms) Anne Mette Kjaer อธิบายว่ามีองค์ประกอบที่ส�าคัญ 4 ประการ ได้แก่

        หนึ่ง เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบราชการที่ผ่านการวางแผนไว้เป็นอย่างดี
        สอง เป็นการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงที่น�าไปสู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมการบริหาร

        รูปแบบใหม่ ๆ สาม กระบวนการปฏิรูปมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการยกระดับประสิทธิภาพ
        และประสิทธิผลในการท�างานของภาครัฐ และ สี่ การปฏิรูปเกิดขึ้นภายใต้แรงผลักดัน

        หรือความจ�าเป็นในการรับมือจัดการกับประเด็นปัญหาเร่งด่วน สภาวะความไม่แน่นอน
        ตลอดจนความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของปัจจัยแวดล้อมการท�างานขององค์กร

        ภาครัฐ โดยแนวทางการปฏิรูปการบริหารงานภาครัฐที่เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษ 1980
        ภายใต้แนวคิดการจัดการภาครัฐแนวใหม่ ประกอบด้วย การน�าหลักการจัดการ

        ในภาคธุรกิจเอกชนมาปรับใช้ในการบริหารงานภาครัฐ (Managerialism) การแปรรูป
        กิจการสาธารณะให้มาอยู่ภายใต้การบริหารงานของภาคเอกชน (Privatization)

        การแยกภารกิจของรัฐไปอยู่ภายใต้การจัดการขององค์กรกึ่งอิสระนอกระบบราชการ
        (Agentification) การน�ากลไกการแข่งขันมาใช้ในการจัดบริการสาธารณะ (Competition)

        การกระจายอ�านาจจากรัฐส่วนกลาง (Decentralization) และการขยายอ�านาจของ
        พลเมือง (Citizens’ empowerment)


                การขยายอ�านาจของพลเมืองเป็นมาตรการปรับปรุงระบบการบริหารงาน
        ภาครัฐที่ตั้งอยู่บนฐานคิดว่า การด�าเนินภารกิจของหน่วยงานภาครัฐโดยอาศัย

        แต่เพียงกลไกการใช้อ�านาจหน้าที่ควบคุมสั่งการแบบราชการดั้งเดิมนั้น อาจไม่ช่วยให้
        การด�าเนินงานของภาครัฐบรรลุผลดังเช่นที่ผ่านมาได้อีกต่อไป เนื่องจากการบริหารงาน
   198   199   200   201   202   203   204   205   206   207   208