Page 197 - kpiebook67020
P. 197
196 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ก็แปรเปลี่ยนมาเป็นการแข่งขันทางการเมืองระหว่างกลุ่มในการเลือกตั้ง โดยมี
พรรคการเมืองเป็นสถาบันหลักที่เป็นตัวแทนของแต่ละกลุ่มในสังคมเพื่อเข้าร่วม
แข่งขันทางการเมือง เพราะการเลือกตั้งเป็นวิธีการเข้าสู่อ�านาจในระบอบประชาธิปไตย
อย่างชอบธรรม การแข่งขันทางการเมือง การลงสมัครรับเลือกตั้ง การมีรัฐสภา
และการจัดตั้งรัฐบาลนี้เอง ที่เป็นลักษณะของการเมืองแบบแบ่งปันอ�านาจระหว่าง
กลุ่มต่าง ๆ ในสังคม
ทั้งนี้ ผู้เขียนมีข้อสังเกตว่า ประชาธิปไตยแบบร่วมมือจะสามารถท�างานได้
ก็ต่อเมื่อความขัดแย้งในสังคมนั้นต้องลดระดับความรุนแรงและยุติลงในระดับที่
แต่ละกลุ่มสามารถพูดคุยเจรจากันได้เสียก่อน ในประเทศที่ประชาธิปไตยหยั่งรากลึก
เช่น เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ความขัดแย้ง สงครามกลางเมืองต่าง ๆ
ได้จบสิ้นไปนานและทุกกลุ่มเดินเข้าสู่กฎกติกาแข่งขันในระบอบประชาธิปไตย
แต่ประเทศประชาธิปไตยใหม่บางประเทศในแอฟริกา เช่น โกตดิวัวร์ ที่ยังไม่มี
สถาบันการเมืองที่เป็นหลักและมีกฎกติกาประชาธิปไตยที่หยั่งรากลึก การจะใช้
หลักการประชาธิปไตยแบบร่วมมือ โดยอาศัยการแบ่งปันอ�านาจระหว่างกลุ่มเลยทันที
โดยที่ความขัดแย้งอาจประสบปัญหาได้เช่นกัน ประชาธิปไตยแบบร่วมมือจะท�างานได้
ก็ต้องมีเงื่อนไขและสภาวะที่เอื้อต่อลักษณะเช่นนั้นด้วย
มีตัวอย่างงานศึกษาที่พบว่าประชาธิปไตยแบบร่วมมือสามารถเกิดขึ้นได้จริง
ในสังคมที่มีความแตกแยกสูง งานศึกษาความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือภายหลังจาก
มีข้อตกลงสันติภาพ ของ McGarry และ O’Leary พบว่าประชาธิปไตยแบบร่วมมือ
เป็นแนวทางที่สอดคล้องกับความเป็นจริงในสังคมที่มีความแตกแยกสูงมากกว่า
แนวทางการรวมเข้าด้วยกัน (Integration) เขาได้อธิบายเพิ่มเติมภายหลังจากกระบวนการ
สันติภาพ และมีข้อตกลงกันแล้ว จ�านวนผู้เสียชีวิตลดลงอย่างมาก ซึ่งเป็นผลภายหลัง