Page 192 - kpiebook67020
P. 192
191
จากหลักการทั้ง 4 ข้อ ส�าหรับ Lijphart ถือว่า การเป็นรัฐบาลผสมขนาดใหญ่
และความเป็นอิสระทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยส�าคัญที่สุดในประชาธิปไตยแบบร่วมมือ
ขณะที่หลักการความเป็นสัดส่วนและสิทธิของเสียงส่วนน้อยในการคัดค้านเป็นปัจจัย
ที่ส�าคัญรองลงมาจากสองปัจจัยข้างต้น (Lijphart, 2008) ทั้งนี้ ในความเห็นส่วนตัว
ของผู้เขียน คิดว่า การที่ Lijphart ให้ความส�าคัญกับการเป็นรัฐบาลผสมขนาดใหญ่
และความเป็นอิสระทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยส�าคัญนั้น ก็เพราะประชาธิปไตยแบบ
ร่วมมือตั้งอยู่บนฐานของ ความร่วมมือ (Cooperation) ระหว่างชนชั้นน�าแต่ละกลุ่ม
และแต่ละกลุ่มยังคงต้องการรักษาอัตลักษณ์ของตนเองเอาไว้ ไม่ต้องการให้มีกลุ่มใด
กลุ่มหนึ่งสามารถครอบง�า ความร่วมมือและอัตลักษณ์จึงเป็นสององค์ประกอบส�าคัญ
ที่อยู่เบื้องหลังและธ�ารงไว้ซึ่งประชาธิปไตยแบบร่วมมือ
ตัวอย่างของประเทศที่มีความแตกแยกสูงและใช้ประชาธิปไตย
แบบร่วมมือ
ประเทศที่มีความแตกแยกสูง มักมีความแตกต่างหลากหลายทั้งในด้าน
เชื้อชาติ ภาษา และศาสนาสูง ในส่วนนี้จะยกตัวอย่างให้เห็นความแตกต่างหลากหลาย
ดังกล่าวใน 3 ประเทศ ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์ เบลเยียม และเนเธอร์แลนด์
สวิตเซอร์แลนด์ มีกลุ่มชาติพันธุ์หลัก 4 กลุ่ม มีประชากรทั้งหมด 7,925,517 คน
เป็นเยอรมัน 65% กลุ่มฝรั่งเศส 18% กลุ่มอิตาเลียน 10% โรมานซ์ 1% และ
กลุ่มอื่น ๆ อีก 6% มีภาษาประจ�าชาติ 4 ภาษา คือ ภาษาเยอรมัน 63.7%
ภาษาฝรั่งเศส 20.4% ภาษาอิตาเลียน 6.5% และภาษาโรมานซ์ 0.5% ส่วนภาษาอื่น ๆ
ได้แก่ ภาษาเซิร์บ-โครเอเชียน 1.5% ภาษาแอลบาเนียน 1.3% ภาษาโปรตุเกส 1.2%
ภาษาสเปน 1.1% ภาษาอังกฤษ 1% และอื่น ๆ อีก 2.8% ในแง่ศาสนา มีผู้นับถือ
โรมันคาทอลิก 41.8% โปรเตสแตนท์ 35.3% มุสลิม 4.3% ออร์โธดอกซ์ 1.8%