Page 187 - kpiebook67020
P. 187
186 การศึกษาการป้องกันวิกฤตสังคมในอนาคต
ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ คืออะไร?
ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ (Consociational Democracy) เป็นทฤษฎี
ที่ว่าด้วยรูปแบบของระบอบประชาธิปไตยที่มีลักษณะ “แบ่งปันอ�านาจ” (Power
Sharing) ระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมซึ่งมีความขัดแย้งและแตกแยกสูง ไม่ว่าจะเป็น
ความขัดแย้งในมิติด้านภาษา ศาสนา ชาติพันธุ์ หรืออุดมการณ์ทางการเมืองในสังคม
โดยที่แต่ละกลุ่มไม่ได้เป็นเสียงส่วนใหญ่ในสังคมนั้น และเป็นกลุ่มที่แตกกระจายกันไป
เป็นทฤษฎีที่เสนอโดย Arend Lijphart นักรัฐศาสตร์ด้านการเมืองเปรียบเทียบชาวดัตช์
ในบทความ เรื่อง Consociational Democracy ปี 1969 ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ
ของเขา หมายถึง เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, ลักเซมเบิร์ก, ออสเตรีย, สวิตเซอร์แลนด์,
เลบานอน, ไนจีเรีย, โคลัมเบีย และอุรุกวัย (Lijphart, 1969) ในงานชิ้นต่อมาของเขา
เรื่อง Democracy in Plural Societies ปี 1977 เขาได้ศึกษากรณีใหม่ ๆ เพิ่มเติมด้วย
เช่น มาเลเซีย, ไซปรัส, ซูรินาเม, เนเธอร์แลนด์ แอนติลส์, บุรุนดี, ไอร์แลนด์เหนือ
และอีกสองกรณีที่มีลักษณะกึ่งประชาธิปไตยแบบร่วมมือ คือ แคนาดาและอิสราเอล
(Lijphart, 1977) ต่อมาในงานปี 1996 ของเขาที่เขียนถึงกรณีศึกษาอินเดียด้วย
(Lijphart, 1996) และยังกล่าวถึงเชคโกสโลวาเกียและแอฟริกาใต้ รวมทั้งกรณีศึกษา
ใหม่ ๆ อย่างบอสเนีย-เฮอเซโกวินา, ฟิจิ, มาเซโดเนีย, โคโซโว และอัฟกานิสถาน
นอกจากตัวเขาจะศึกษาเปรียบเทียบกับกรณีศึกษาทั่วโลกแล้ว ยังมีนักรัฐศาสตร์
อีกหลายคนเช่นกันที่น�าเอาทฤษฎีของเขาไปพิสูจน์และศึกษาวิจัยอยู่เสมอเช่นกัน
ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ เป็นรูปแบบของระบบการเมืองที่จัดการ
ความขัดแย้งในสังคม บนหลักการของการดึงทุกกลุ่มให้เข้ามามีส่วนร่วม (Politics
of Accommodation, ดู Lijphart, 1968) เป็นการยอมรับความแตกต่างที่ด�ารง
อยู่จริงในสังคม โดยไม่พยายามสลายอัตลักษณ์หลอมรวมทุกกลุ่มเข้าด้วยด้วยกัน