Page 188 - kpiebook67020
P. 188

187




           (Melting Pot) อย่างเช่นในสหรัฐอเมริกา กระบวนการตัดสินใจทางการเมืองในรูปแบบนี้ใช้

           หลักการประนีประนอมระหว่างกลุ่ม โดยการตัดสินใจต้องได้รับฉันทามติ (Consensus)
           มากกว่ายึดมั่นในหลักการเสียงข้างมาก (Majoritarianism) เข้าบังคับเสียงข้างน้อย
           ทั้งนี้ เพื่อลดแรงต่อต้านจากกลุ่มต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายในสังคม เพราะ

           คนกลุ่มน้อยที่เป็นคนชายขอบ (Marginalized) ซึ่งไม่ได้รับการยอมรับอาจถูกลิดรอน

           สิทธิและไม่ได้รับการปกป้องเพียงพอ ในการเมืองรูปแบบนี้ จะปล่อยให้แต่ละกลุ่มชน
           ด�าเนินตามวิถีทางของตน และแต่ละกลุ่มในสังคมต่างตระหนักรับรู้ในวัฒนธรรม
           อันหลากหลายของคนกลุ่มอื่น เปรียบเสมือนผักผลไม้ต่างชนิดในชามสลัด (Salad

           Bowl) (สิริพรรณ, 2548)


                  หลักการส�าคัญของประชาธิปไตยแบบร่วมมือ

                  1. การเป็นพันธมิตรขนาดใหญ่ (Grand Coalition)

                  การเป็นพันธมิตรขนาดใหญ่ เป็นลักษณะส�าคัญประการแรกของ

           ประชาธิปไตยแบบร่วมมือ โดยการเป็นพันธมิตรขนาดใหญ่ในที่นี้ คือการที่ผู้น�า
           ทางการเมืองหรือชนชั้นน�าของทุกกลุ่มในสังคมที่มีความหลากหลายมาร่วมมือกัน

           เพื่อท�าหน้าที่รัฐบาลบริหารประเทศ ในรูปของรัฐบาลผสมขนาดใหญ่ กลุ่มแต่ละกลุ่ม
           ก็จะมีพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นของตนเอง โดยมากแล้วมักไม่มีพรรคการเมือง

           ใดได้รับเสียงข้างมากเด็ดขาดเกินกึ่งหนึ่ง จึงต้องจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกันหลายพรรค
           เป็นพันธมิตรขนาดใหญ่ ซึ่งรูปแบบนี้จะตรงข้ามกับประชาธิปไตยแบบเสียงข้างมาก

           ที่แบ่งแยกกันอย่างเด็ดขาดระหว่างฝ่ายที่ได้เสียงข้างมาก กับฝ่ายที่เป็นเสียงข้างน้อย เช่น
           ประชาธิปไตยแบบอังกฤษ ที่เป็นระบบ 2 พรรคการเมืองใหญ่ รัฐบาลจึงประกอบด้วย

           พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว ส่วนพรรคใหญ่อีกพรรคหนึ่งจะท�าหน้าที่ฝ่ายค้าน
   183   184   185   186   187   188   189   190   191   192   193